การบูรณาการหลักพละ 4 ในการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • พระปลัดพิพัฒน์พงษ์ ภทฺทวํโส วัดคูหาสวรรค์ จังหวัดพิษณุโลก

คำสำคัญ:

การบูรณาการ, พละ 4, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบูรณาการหลักพละ 4 ในการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งรัฐได้จัดตั้งขึ้นและให้มีอำนาจปกครองตนเอง โดยเป็นการที่รัฐบาลกลางกระจายอำนาจไปยังท้องถิ่น เพราะเป็นหน่วยงานที่สามารถเข้าถึงประชาชนได้มากที่สุด โดยมีเป้าหมายเพื่อทำให้ความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้นกว่าเดิมจากอดีต ดังนั้นเพื่อให้การบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงบูรณาการ "หลักพละ 4" เป็นธรรรมอันเป็นพลังสำคัญที่ช่วยทำให้สามารถบริหารองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผล จำเป็นต้องประกอบขึ้นด้วย กำลังความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องชัดเจนในหน้าที่ที่ตนรับผิดชอบด้วยความเข้าใจถึงเหตุผลและสภาพความเป็นจริงของสภาพปัญหา ในการจะนำไปสู่กระบวนการแก้ไขปัญหาที่เป็นรูปธรรมและยั่งยืน พร้อมทั้งพึงมีกำลังความเพียรด้วยความมุ่งมั่นพยายามในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความรู้ความสามารถ ประกอบกับพึงมีกำลังความบริสุทธิ์ที่ปลูกฝังอยู่ในจิตใจด้วยการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้และพึงถึงพร้อมด้วยกำลังการสงเคราะห์ การเสียสละประโยชน์ส่วนตน เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2552). การปกครองท้องถิ่นไทย (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

ตุลา มหาสุธานนท์. (2545). หลักการจัดการ หลักการบริหาร. กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์.

ไททัศน์ มาลา. การปกครองท้องถิ่นไทยในระยะเปลี่ยนผ่าน. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 1(2), 29–24.

บุญทัน ดอกไธสง. (2537). การจัดองค์การ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

ปัณณธร เธียรชัยพฤกษ์. (2561). ทิศทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยในอนาคต. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 3(2), 183-196.

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2549). พุทธวิธีการบริหาร. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรชัย สุกธมฺโม. (2554). พุทธธรรมกับการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ: 21เซ็นจูรี่.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

_______. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ยุติธรรม ปัทมะ. (2558). การปฏิรูปการปกครองส่วนท้องถิ่น (The Local Administrative Reform). กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2541). การบริหารเมืองหลวงและการบริหารท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: โอเดียน สโตร์.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2555). แนวคิด ทฤษฎี และประเด็นเพื่อการบริหารทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์.

สัมพันธ์ ภู่ไพบูลย์. (2552). องค์การและการจัดการ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: พิทักษ์อักษร.

Bovee, C. L., et. al. (1993). Management. New York: Mc Graw – Hill.

Freeman, R. E. (1992). Management (5th ed.). New Jersey: Practice - Hall.

Puang-ngam, K. (2007). Local government: Theory, Concept and Principle. Bangkok: Exponet.

William A. Robson, “Local Governmen” in Encyclopedia of Social Science. New York: The Macmillan, 1953.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-06

How to Cite