การบริหารงบประมาณขององค์การปกครองท้องถิ่น จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • อุบลกาญจน์ อมรสิน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบริหารงบประมาณ, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, จังหวัดอุบลราชธานี

บทคัดย่อ

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นหน่วยงานของรัฐที่เป็นหน่วยรับงบประมาณตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เป็นปีแรกที่ กำหนดให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ซึ่งหน่วยรับงบประมาณตามกฎหมายดังกล่าวต้องขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีโดยตรง อย่างไรก็ดี อบจ.ในฐานะหน่วยรับงบประมาณใหม่ ยังขาดความ พร้อมในการจัดทำคำขอเพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายตามบทบัญญัติของกฎหมาย และใน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จะขยายให้ครอบคลุมถึงเทศบาลนครและเมือง ตลอดจนในปีงบประมาณถัด ๆ ไป จะขยายเพิ่มเป็นเทศบาลตำบลและองค์กรบริหารส่วนตำบลทั้งหมดให้ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่าย ประจำปีโดยตรงของ งบประมาณเป็นเครื่องมือสำคัญ ที่หน่วยงานรัฐรวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องใช้ เพื่อการวางแผน และบริหารทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษาค้นคว้าในครั้งมีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับ ปัญหาการบริหารงบประมาณขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอุบลราชธานี และการพัฒนาการบริหารงบประมาณขององค์การบริหารงบประมาณขององค์กรปกครองท้องถิ่น จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อให้เป็นไปตามแผนและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ดังนั้นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจึงต้องให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพการบริหารงานคลังให้มาก เพื่อให้ใช้งบประมาณก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนในจังหวัดอุบลราชธานี ให้มากที่สุด

References

กรมการปกครอง. (2543). การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงาน การคลัง ขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อามารักษาดินแดน.

โกวิทย์ พวงงาม. (2550). การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ: บริษัทสำนักพิมพ์วิญญูชน จำกัด.

ทนงศักดิ์ จันทะเวช. (2558). การวิเคราะห์งบประมาณของเทศบาลตำบลทับช้างอำเภอสอยดาวจังหวัดจันทบุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 4(1), 293-304.

ธเนศพล อินทร์จันทร์. (2562). การบริหารจัดการการเงินและงบประมาณของเทศบาลเมืองคูคตอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 10(2), 58-72.

พัฒนา กิติอาษา. (2546). มานุษยวิทยากับการศึกษาปรากฏการณโหยหาอดีตในสังคมไทยร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: แปลนพริ้นติ้ง.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ: นานมี บุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

รุจิร์ ภู่สาระ และจันทรานี สงวนนาม. (2545). การบริหารหลักสูตรในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : บุ๊คพอยท์

วรทิพย์ มีมาก และคณะ. (2547). หน้าที่พลเมืองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข. กรุงเทพฯ: รำไทยเพรส.

สกนธ์ วรัญญูวัฒนา. (2551). การบริหารการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

Barnard, C. I. (1972). The Functions of the Executives. Boston: Harvard University press.

Drucker, P. F. (1954). The practice of management. New York: Harper & Row.

Petersen, E. et al. (1962). Business Organization and Management. Montana: Literary Licensing LLC.

Simon, H. A. (1976). Administrative behavior: A study of decision-making processes in administrative organization (3rd ed.). Washington, D.C: The Free Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-03

How to Cite