นโยบายสาธารณะ : ผลผลิตจากการเมือง ตามกรอบรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560

ผู้แต่ง

  • พระครูปลัดธวัชชัย ธวชฺชยเมธี วัดโพธิ์ทอง จังหวัดพิษณุโลก

คำสำคัญ:

นโยบาย, พรรคการเมือง, นโยบายสาธารณะ

บทคัดย่อ

แนวทาง กิจกรรม หรือการกระทำที่พรรคการเมืองในคณะรัฐบาลใช้ในการดำเนินงานเพื่อส่งมอบบริการสาธารณะในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา ด้านการสาธารณสุข ด้านการสังคมสงเคราะห์ เป็นต้น ไปสู่ประชาชนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้นั้นเรียกได้ว่า นโยบายสาธารณะ (Public Policy) โดยจะต้องมีการวางแผนดำเนินการอย่างเป็นระบบ มีการจัดสรรทรัพยากรบุคคล งบประมาณในการดำเนินงาน มีการจัดทำโครงการ มีกระบวนการดำเนินงานให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งด้วยวิธีปฏิบัติงานที่มีความสอดคล้อง และมีความเหมาะสมกับสภาพความเป็นจริง รวมตลอดทั้งความต้องการของประชาชนในแต่ละเรื่อง และในแต่ละพื้นที่ เพราะฉะนั้น นโยบายของพรรคการเมืองจึงนับว่าเป็นนโยบายสาธารณะซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารงานของพรรคการเมืองเมื่อได้รับเลือกตั้งให้เข้ามาจัดตั้งรัฐบาล บทความทางวิชาการเรื่องนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับนโยบายสาธารณะที่เป็นผลผลิตจากทางการเมืองตามกรอบรัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ.2560

References

จักร พันธุ์ชูเพชร. (2549). การเมืองและการปกครองไทย: จากสมัยสุโขทัยถึงสมัยทักษิณ. ปทุมธานี: พิมพลักษณ์.

แนวหน้า.(2565). การรณรงค์เลือกตั้ง. สืบค้น 20 เมษายน 2565, จาก https: //www.naewna.com/politic/ 394606.

เรืองวิทย์ เกตุสุวรรณ. (2550). นโยบายสาธารณะ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ด, 2550.

วิลาวรรณ พงษ์พิทักษ์. (2565). เลือกตั้ง'62: กกต.แจงออกระเบียบล่าสุดเน้นคุมค่าใข้จ่าย-ช่องทางหาเสียงเลือกตั้ง. สืบค้น 20 เมษายน 2565, จาก https: //www.ryt9.com/s/iq02/2939986.

Peters, B.G. (1986). American Public Policy: Promise And Performance (2nd Ed). New Jersey : Chatham Hourse Publishers.

Spring News. (2565). Campaign Budget. สืบค้น 20 เมษายน 2565, จาก https://www.springnews .co.th/column/polcolumn/404483.

Dunn, W.N. (1994). Public Policy Analysis: An Introduction (2nd Ed). New Jersey: Prentice Hall Public.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-06

How to Cite