การเปลี่ยนแปลงและผลกระทบทางสังคมหลังเกิดโรคระบาดโควิค 19

ผู้แต่ง

  • พระปลัดวีระศักดิ์ ปุกคำ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การเปลี่ยนแปลง, โรคระบาด, โควิด-19

บทคัดย่อ

วิกฤตการณ์ของเชื้อไวรัส โควิค 19 ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ โดยจะแสดงอาการตั้งแต่ระดับความรุนแรงน้อย ได้แก่ คัดจมูก เจ็บคอ ไอ และมีไข้ โดยในบางรายที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการปอดบวมหรือหายใจลำบากร่วมด้วย หากผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน และโรคหัวใจ จะเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยรุนแรง การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 นั้น ส่งผลกระทบอย่างมหาศาลทั่วทั้งโลก ทุกประเทศได้รับความเสียหายเหมือนกันหมดจากการแพร่ระบาดของโควิค 19 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทุก ๆ ด้าน เช่น เกิดการสูญเสียทางด้านทุนมนุษย์ (Human Capital) ของประเทศ คนออกจากบ้านไปทำงานไม่ได้ นักเรียนนักศึกษาออกจากบ้านไปเรียนไม่ได้ต้องหยุดเรียน เพราะกลัวติดโควิค 19 ในระยะแรก ๆ ที่แพร่ระบาดเชื้อยังมีความรุนแรงอยู่มาก วัคซีนที่จะป้องกันยังอยู่ในระหว่างการผลิตและทดลอง สำหรับคนที่ยังไม่คุ้นชินกับการป้องกันเกิดความกลัวไปหมด จนบางครั้งจิตตก การขาดแคลนทรัพยากรในการลงทุน ในโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ที่จะต้องเจ็บไข้ได้ป่วยเรื้อรังทำให้ธุรกิจต้องหยุดชะงัก ธุรกิจจำนวนมากได้รับผลกระทบโดยตรง ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจร้านอาหาร ธุรกิจค้าขาย ธุรกิจ ท่องเที่ยว ฯลฯ การเกิดภาวะเฉียบพลันนี้ทำให้เกิด  “New Normal” เป็นการเรียนรู้วิถีชีวิตปกติรูปแบบใหม่เพื่อป้องกันตนเอง นอกจากนี้สังคมยังมีการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงของประชากร การขยายตัวของสังคมเมือง การเกิดขึ้นของสถาบันต่างๆในสังคมที่มีความชำนาญเฉพาะด้านมากขึ้น การเปลี่ยน แปลงในเชิงเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงในเรื่องของการติดต่อสื่อสาร และทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น นอกจากการเปลี่ยนแปลงในเชิง โครงสร้างทางสังคมแล้ว ความคิดของคนในสังคมมีการเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน

References

จินตวีร์ เกษมสุข. (2554). การสื่อสารกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณฐวัฒน์ คณารักสมบัติ, 2563.กลยุทธ์การสื่อสารสุขภาพทางสื่อโฆษณาออนไลน์ในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 9(2), 160-171.

ศรุตานนท์ ชอบประดิษฐ์. (2563). วิกฤตโควิด 19 ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างไร. วารสารชัยภูมิปริทรรศน์, 3(2), 1-14.

สมัครสมร ภักดีเทวา และ เอกนฤน บางท่าไม้. (2564). การเรียนรู้ยุคใหม่กับการเรียนการสอนออนไลน์ ในสถาบันอุดมศึกษา. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช, 34(1), 1-18.

สุริชัย หวันแก้ว. (2553). การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภาภรณ์ พรหมบุตร. (2563). การบริหารจัดการศึกษารับความปกติใหม่หลังวิกฤตโควิด-19. วารสารศิลปะการจัดการ, 4(3), 783-795.

สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์. (2563). 5 คำถามและ 4 โจทย์ว่าด้วยการสนทนาเรื่อง “ความปกติใหม่” ใน “โลกหลังโควิด”. สืบค้น 30 เมษายน 2565, จาก https://tdri.or.th/2020/04/new-normal-in-post-covid-world/

Rogers. E. M. (1995). Diffusion of Innovation. (4th ed). New York: The Free Press.

TNN Health. (2565). เมื่อ WHO ระบุว่า โควิด-19 กำลังกลายเป็นโรคประจำถิ่นและคาดว่า การแพร่ระบาดยุติลงในปี 2565 แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรและเมื่อไหร่ว่าโควิด-19 ไม่ใช่โรคระบาดที่น่ากังวลอีกต่อไป. สืบค้น 10 มีนาคม 2565, จาก: https://news.trueid.net/detail/7ob9ewEBO03m.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-06

How to Cite