การพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบองค์รวมตามหลักภาวนา 4 ของผู้สูงอายุในยุคชีวิตวิถีใหม่
คำสำคัญ:
การพัฒนาคุณภาพชีวิต, ภาวนา 4, ผู้สูงอายุ, ชีวิตวิถีใหม่บทคัดย่อ
คุณภาพชีวิตในปัจจุบันนี้มีความแตกต่างไปจากเดิมตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์ของโรคระบาดไวรัสที่แพร่กระจายไปในทั่วโลกหลาย ๆ ประเทศ ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่มีการกลายพันธุ์ไปในแต่ละพื้นที่ คือ ไวรัสโคโรน่า 2019 (Corona Virus 2019) หรือที่เรียกว่า “โควิด-19” (Covid-19) ทำให้ทั้งโลกหาทางแก้ไขและป้องกันอย่างวุ่นวาย เกิดปัญหา ในหลาย ๆ ด้าน แต่ปัญหาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในยุคนี้ที่เป็นยุคชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนชุดพฤติกรรม ซึ่งทำให้ต้องมีการปรับตัวให้สอดคล้องในยุคนี้ ดังนั้นผู้เขียนได้นำหลักภาวนา 4 มาเป็นหลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ของผู้สูงอายุแบบองค์รวมในยุคชีวิตวิถีใหม่นี้ เพื่อให้มีการพัฒนาทางกายให้รู้และเข้าใจในการดำเนินชีวิตอย่าง เป็นการสร้างสรรค์ชีวิตให้มีความสุข เพื่อการพัฒนาทางด้านกรอบแห่งความประพฤติให้เป็นผู้มีความเข้าใจในสิ่งที่ควรประพฤติหรือไม่ควรประพฤติ ซึ่งผู้สูงอายุเป็นผู้ที่มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย เพื่อพัฒนาทางด้านความมั่นคงแห่งจิต ให้เป็นผู้ที่เข้าใจในสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม ไม่ให้เป็นผู้ที่อ่อนไหวตามการเปลี่ยนแปลงของโลก และสุดท้ายคือเพื่อการพัฒนาทางด้านความรู้ หรือปัญญา ทำให้เกิดการศึกษาเพื่อเข้าใจชีวิต มีการศึกษาแบบแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้สูงอายุด้วยกัน แล้วนำมาพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2559). ประชากรผู้สูงอายุอาเซียน+3. สืบค้น 30 สิงหาคม 2564, จาก https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/46.
กรุงเทพธุรกิจ. (2563). ‘New Normal’ คืออะไร? เมื่อโควิด-19 ผลักเราสู่ชีวิต ‘ปกติวิถีใหม่’. สืบค้น 30 สิงหาคม 2564, จาก https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/882508.
กฤตกร หมั่นสระเกษ และคณะ. (2564). วิถีชีวิตใหม่กับเทคนิคการดูแลตนเองเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด19. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล, 27(1), 206-218.
กองทุนการออมแห่งชาติ. (2563). New Normal ความปกติในวิถีชีวิตใหม่. สืบค้น30 สิงหาคม 2564, จาก https://www.nsf.or.th/node/955.
กองโรงงานไฟฟ้าอาวุธ (ศซส.สพ.ทร). (2556). แนวทางในการพัฒนาตนสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต. สืบค้น30 สิงหาคม 2564, จาก https://fcsorm.dyndns.org/fcsorm/km-menu/การพัฒนาคุณภาพชีวิต/ความหมายของการพัฒนาคุณภาพชีวิต/.
ความสุขประเทศไทย. (2559). เส้นทางความสุข : การภาวนา. สืบค้น 30 สิงหาคม 2564, จาก https://www.happinessisthailand.com/2016/03/05/เส้นทางความสุข-การภาวนา/.
โปรซอร์ฟแฟมิลี่. (2563). แนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิต. สืบค้น 30 สิงหาคม 2564, จาก https://prosoftfamily.softbankthai.com/Article/Detail/28929.
รณรงค์ จันใด. (2561). แนวทางการพัฒนาระบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวมในเขตเทศบาลนครนนทบุรี. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 16(1), 96-110.
วิชัย เทียนถาวร. (2564). ‘มีความรู้ท่วมหัวต้องเอาตัวให้รอด’. สืบค้น 30 สิงหาคม 2564, จาก https://www.matichon.co.th/article/news_3011046.
ศิโรรัตน์ แก้วมงคล. (2555). การพัฒนาคุณภาพชีวิต. สืบค้น 30 สิงหาคม 2564, จาก https://www.gotoknow.org/posts/500426.
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.). (2563). ใช้ชีวิตวิถีใหม่แบบ New Normal-plus จะระงับการระบาดใหญ่ระลอกสองในไทย. สืบค้น 30 สิงหาคม 2564, จาก https://www.hsri.or.th/media/issue/detail/12945.
สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์กรมหาชน). (2564). ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal). สืบค้น 30 สิงหาคม 2564, จาก https://www.tosh.or.th/covid-19/index.php/new-normal.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2561). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 31). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บริษัท สหธรรมิก จำกัด.
สารานุกรมเสรี. (2565). ปัญญา (ศาสนาพุทธ). สืบค้น 30 สิงหาคม 2564, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/ปัญญา_(ศาสนาพุทธ).
สำนักวิทยบริการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. (2564). 9 New Normal ชีวิตวิถีใหม่. สืบค้น 30 สิงหาคม 2564, จากhttps://lib.rmutsv.ac.th/site/th/news/189.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น