การนำนโยบาย Work From Home ไปใช้ในหน่วยงานของรัฐ
คำสำคัญ:
นโยบายรัฐ, การปฏิบัติงานที่บ้าน, ผลกระทบบทคัดย่อ
ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ซึ่งนับเป็นวิกฤตหนักหนาสาหัสที่ประเทศไทยต้องเผชิญอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ก่อเกิดผลกระทบทุกองค์กร ตลอดจนเกิดการสูญเสียทั้งด้านเศรษฐกิจ ด้านการครองชีพของประชาชนโดยทั่วถึงทุกระดับชั้น ปรากฏการณ์ที่ไม่อาจคาดคิดและควบคุมได้ ดังนั้น ทุกภาคส่วนจึงได้มีนโยบายในการป้องกันเพื่อลดการติดเชื้อและเฝ้าระวังมิให้เกิดการแพร่ระบาดในทุกหน่วยงาน สำนักงานชลประทานที่ 11 เป็นหน่วยงานของรัฐที่ได้สนองรับนโยบายของรัฐบาล ในการลดจำนวนคนทำงานที่ทำงานลง เพื่อไม่ให้เกิดการติดเชื้อกันเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงให้บุคคลากรในหน่วยงานแบ่งสัดส่วนการทำงานแบบเหลื่อมเวลา และจัดกลุ่มให้บุคลากรปฏิบัติงานที่บ้าน หรือ Work Form Home (WFH) แต่การนำนโยบายนี้มาปฏิบัติยังมีข้อจำกัดและมีผลกระทบหลายด้าน ซึ่งการศึกษานี้ทำให้ได้ทราบผลกระทบจากการนำนโยบายมาปฏิบัติ แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ 1. ผลกระทบด้านสถานที่และเครื่องมือการปฏิบัติงาน 2. ผลกระทบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและข้อมูลที่สำคัญ 3. ผลกระทบด้านประสิทธิภาพของบุคลากร 4. ผลกระทบด้านประสิทธิผลของงาน นอกจากทราบผลกระทบแล้ว การนำข้อมูลที่ได้มา ปรับปรุงแก้ไขเพื่อวางแนวทางเตรียมพร้อมรองรับกับสถานการณ์เช่นนี้ในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
References
กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค. (2563). ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019. สืบค้น 1 สิงหาคม 2565, จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia
ชนม์นิภา เขียนนอก. (2564). การนำนโยบาย Work From Home ไปปฏิบัติในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID) กรณีศึกษา กองความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2565, จากhttp://www3.ru.ac.th/mpa-abstract/index.php/abstractData/viewIndex/313
บุญเกียรติ การะเวกพันธุ์. (2563). เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชาสัมมนานโยบายและการจัดการสาธารณะ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วีณา พึงวิวัฒน์นิกุล. (2562). เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชาการกำหนดและการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2545). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.
ศูนย์ประสานงานคณะกรรมการเฉพาะกิจฯ (COVID). (2565). แนวทางการปฏิบัติในการจัดทำแผนการเหลื่อมเวลาการทำงานและแผนการทำงานจากบ้านและการตั้งศูนย์ประสานงานคณะกรรมการเฉพาะกิจฯ (COVID) ของสำนัก/กอง. กรุงเทพฯ: กรมชลประทาน.
สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2554). นโยบายสาธารณะ : แนวความคิด การวิเคราะห์และกระบวนการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เสมาธรรม.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น