พลังงานทดแทน ทางเลือกใหม่ของประเทศ

ผู้แต่ง

  • เทพ เทพวัฒนปิยกุล นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

พลังงานทดแทน, ทางเลือกใหม่, อนุรักษ์พลังงาน

บทคัดย่อ

โลกในปัจจุบันได้เกิดการพัฒนาและขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทั้งในด้านประชากร ที่อยู่อาศัย การคมนาคม การติดต่อสื่อสาร ทำให้ความต้องการด้านพลังงานเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว การใช้เชื้อเพลิงในปริมาณมากนั้น ไม่เพียงแต่มีความผันผวนไปในแนวทางที่สูงขึ้นตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองของโลก แต่ยังส่งผลถึงสภาวะโลกร้อนที่ส่งผลกระทบต่อมนุษย์ สิ่งแวดล้อม รวมทั้งสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ และยังมีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งสาเหตุหลักของภาวะโลกร้อนเกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ การใช้พลังงานเชื้อเพลิง อีกทั้งยังใช้สารเคมีที่มีส่วนประกอบของก๊าซเรือนกระจก ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่ใช้เชื้อเพลิง เช่น ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน และน้ำมัน มากกว่าร้อยละ 90 ของเชื้อเพลิงทั้งหมดในการผลิตกระแสไฟฟ้าดังนั้น พลังงานทดแทนเป็นทางเลือกใหม่ที่ช่วยลดการใช้พลังงานจากแหล่งเชื้อเพลิงที่จะหมดไปในอนาคตและลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานไอน้ำ พลังงานไอเก็บความร้อนจากพื้นผิวโลก และพลังงานไบโอมาสส์ เมื่อมีการนำพลังงานทดแทนมาใช้ในประเทศอย่างกว้างขวาง จะช่วยสร้างงานและเพิ่มโอกาสในการลดการนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงในการที่จะมีการขาดแคลนพลังงานในอนาคต

References

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2558). แผนปฏิบัติการพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558 - 2579. สืบค้น 24 สิงหาคม 2565, จาก https://www.dede.go.th/download/files/AEDP%20Action%20Plan_Final.pdf

______. (2562). รายงานพลังงานทดแทนของประเทศไทย 2562. สืบค้น 24 สิงหาคม 2565, จาก https://webkc.dede.go.th/testmax/sites/default/files/

Thailand_Alternative_Energy_Situation_2019.pdf

______. (2564). รายงานพลังงานทดแทนของประเทศไทย 2564. สืบค้น 24 สิงหาคม 2565, จาก https://www.dede.go.th/download/state_65/Thailand%20Alternative%20Energy%20Situation%202021_compressed.pdf

กระทรวงพลังงาน. (2565). แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. สืบค้น 24 สิงหาคม 2565, จาก https://shorturl.asia/K4vjr

จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์. (2562). ปรัชญาทางสังคมแห่งพระพุทธศาสนา. นนทบุรี: หจก.นิติธรรมการพิมพ์.

มณฑาสินี หอมหวาน. (2555). พลังงานทดแทน พลังงานทางเลือกใหม่สำหรับอนาคต. วารสารนักบริหาร, 32(1), 100-104.

โยธิน ป้อมปราการ. (2557). พลังงานทดแทน. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ครั้งที่ 1 (588 - 594). กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-02

How to Cite