การบูรณาการหลักพุทธธรรมในการบริหารงานของการประปานครหลวง
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการ, ประปานครหลวง, หลักพุทธธรรมบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการบริหารงานประปานครหลวง โดยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่างๆ มาพัฒนางานประปาอย่างต่อเนื่องและได้นำหลักพุทธธรรมมาบูรณาการเพื่อบริหารจัดการงานประปานครหลวงเนื่องจากการทำงานไม่ว่าจะอยู่ในองค์กรไหนหรือเป็นงานลักษณะใด คนทั้งหลายต่างก็เฝ้าหาทฤษฎีแห่งความสำเร็จมากมาย มาใช้แก้ปัญหาและหาหนทางเจริญก้าวหน้า แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะทำได้ และเจอประตูสู่ความสำเร็จ แต่ในทางพระพุทธศาสนามีหลักธรรมะที่ใช้ในการทำงานเพื่อให้ประสบความสำเร็จในการทำงานนั่นคือ อิทธิบาท 4 ซึ่งเป็นธรรมแห่งความสำเร็จ
ดังนั้น การบริหารจัดการงานประปานครหลวงตามหลักอิทธิบาท ๔ เป็นการบูรณาการบริหารงานของผู้บริหารและพนักงานการประปานครหลวงให้สามารถนำไปเป็นตัวแบบในการพิจารณาปรับปรุงด้านการบริหารงานของภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติต่อไป
References
การประปานครหลวง. (2564). แผนวิสาหกิจ กปน (ฉบับที่ 5) (ปี 2563–2565). กรุงเทพฯ: การประปานครหลวง.
________. (2562). รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำปี 2562. กรุงเทพฯ: การประปานครหลวง.
พระเทพดิลก (ระแบบ ฐิตญาโณ). (2548). อธิบายหลักธรรมตามหมวดจากนวโกวาท. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ธรรมสภา.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2545). ธรรมนูญชีวิต (พิมพ์ครั้งที่ 46). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมศาสนา.
พุทธทาสภิกขุ. (2549). การงานที่เป็นสุข. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ธรรมสภา.
สมคิด บางโม. (2558). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: บริษัท วิทยพัฒน์ จำกัด.
สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์ และคณะ. (2553). นวัตกรรม: ความหมาย ประเภท และความสำคัญต่อการเป็นผู้ประกอบการ. วารสารบริหารธุรกิจ, 33(128), 53.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563).รายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปี 2562. กรุงเทพฯ: บริษัท ซีดี มีเดียไกด์ จำกัด.
เสนาะ ติเยาว์. (2551). หลักการบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Alvin, Tofler. (1980). The Third Wave. New York: William Marrow.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น