คัมภีร์หลุนอฺวี่ : ว่าด้วยศาสตร์การปกครอง

ผู้แต่ง

  • นัฐพล บุญสอน สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
  • เทพ เทพวัฒนปิยกุล สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา

คำสำคัญ:

คัมภีร์หลุนอฺวี่, ศาสตร์การปกครอง, ปราชญ์ขงจื่อ

บทคัดย่อ

หลักปรัชญาและระบบความคิดที่มีอิทธิพลต่อชาวจีนตลอดระยะเวลาสองพันกว่าปีที่ผ่านมาคงจะหนีไม่พ้นหลักปรัชญาและระบบความคิดของสำนักปรัชญา หยูเจีย (Confucianism) ของท่านจอมปราชญ์ขงจื่อ ในขณะที่ท่านเป็นขุนนางฝ่ายตุลาการของแคว้นหลู่ได้ใช้ศาสตร์การปกครองที่แฝงด้วยหลักปรัชญาและระบบความคิดของสำนักปรัชญาหยูเจียหลายด้านทำให้แค่ชั่วเวลาไม่ถึงหนึ่งปีก็สามารถบริหารจัดการบ้านเมืองให้ร่มเย็นเป็นสุข อาณาประชาราษฎร์อยู่ดีกินดีถ้วนหน้า จนเลื่องลือไปทั่วทุกสารทิศทำให้มีเจ้าเมืองและขุนนางชั้นผู้ใหญ่มาขอคำชี้แนะจากท่านอย่างล้นหลาม ซึ่งสิ่งที่ท่านขงจื่อได้ให้คำแนะนำนั้นมีมากมายหลายศาสตร์ บรรดาศิษย์ได้นำเอาคติพจน์และวจนะที่ท่านขงจื่ออบรมสอนสั่งผ่านการสนทนาถามตอบ พร้อมทั้งหลักแนวคิดหรือทฤษฏีที่เป็นข้อเสนอแนะต่าง ๆ เรียบเรียงขึ้นเป็นคัมภีร์หลุนอฺวี่ ภายหลังได้กลายเป็นหนึ่งในคัมภีร์คลาสสิคของสำนักปรัชญาหยูเจีย ผู้ปกครองหรือขุนนางจีนแต่ละยุคสมัยจำนวนไม่น้อยศึกษาเรียนรู้ พร้อมทั้งนำหลักแนวคิดและศาสตร์การปกครองในคัมภีร์หลุนอฺวี่มาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการปกครองและการบริหารบ้านเมือง เพื่อสร้างสรรค์สังคมธรรมาภิบาล สร้างคนให้เป็นคนดีมีคุณธรรมจริยธรรม เรื่อยมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

References

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2552). พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เกี่ยวกับศาสนาและศีลธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

จำนงค์ ทองประเสริฐ. (2510). บ่อเกิดลัทธิประเพณีจีน ภาคหนึ่งและสอง (พิมพ์ครั้งที่ 2). ปทุมธานี:โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง.

บุญชัย ใจเย็น. (2554). ปรัชญาจีนจากขงจื่อถึงเหมาเจ๋อตง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ปราชญ์.

มาลินี คัมภีรญาญนนท์. (2562). ขงจื่อกับผลงานศิลปะที่หลากหลายมุมมอง. วารสารดำรงวิชาการ, 18(1), 100-125.

สมเกียรติ วันทะนะ. (2513). บทเรียนทางการเมืองจากลิลิตพระลอ. วารสารไทยคดีศึกษา, 16(1), 1-49.

ศุภนิมิต นาคสิงห์. (2553). คัมภีร์ธรรมพิจารณ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ส่งเสริมคุณภาพชีวิต.

สุวรรณา สถาอานันท์ (2551). หลุนอี่ว์ : ขงจื่อสนทนา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อธิคม สวัสดิญาณ. (2555). เจินกวนเจิ้งเย่า ยอดกุศโลบายจีน (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เต๋าประยุกต์.

อมร ทองสุก. (2549). คัมภีร์หลุนอวี่ The Analects of Confucius. ปทุมธานี: สำนักพิมพ์ชุณหวัตร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-31

How to Cite