การจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดบึงกาฬ

ผู้แต่ง

  • พัชร์ศศิ เรืองมณีญาต์ กองบัญชาการกองทัพไทย
  • พงศ์นคร โภชากรณ์ กองบัญชาการกองทัพไทย
  • บรรเจิด ถมปัด กองบัญชาการกองทัพไทย

คำสำคัญ:

การจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์, จังหวัดบึงกาฬ

บทคัดย่อ

จังหวัดบึงกาฬ เป็นพื้นที่ซึ่งมีทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนที่หลากหลาย ประกอบด้วย ทุนทางวัฒนธรรรมด้านความเชื่อความศรัทธาที่มีต่อพญานาค ทุนทางวัฒนธรรมด้านตำรับอาหาร ทุนทางวัฒนธรรมด้านหัตถกรรม และทุนทางวัฒนธรรมด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น           ซึ่งบทความนี้เป็นบทความวิชาการเพื่อนำเสนอการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัด    บึงกาฬ การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ถือเป็นอำนาจละมุน (Soft power) ที่เกิดจากทุนมนุษย์ที่ดึงความสามารถของคนออกมาสร้างมูลค่าเพิ่มของทุนปัญญา หนุนเสริมให้เกิดการสร้างเศรษฐกิจฐานรากที่เอื้อชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชน เสริมสร้างความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์            ที่หลากหลาย มีการพัฒนาและขยายทุนทางสังคมผ่านกระบวนการทำงานและสร้างการตระหนักในการพัฒนาอย่างยั่งยืนจากการส่งต่ออัตลักษณ์ของชุมชนจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งผลที่ได้จากการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เป็นปัจจัยสนับสนุนทำให้สังคมมีทุนทางสังคมเพียงพอที่จะอยู่กับความแตกต่างความหลากหลายทางวัฒนธรรมและมีความสามารถในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงได้  การจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดบึงกาฬ จึงเป็นแนวทางหนึ่งของการสร้างสัมพันธภาพใหม่ของสังคมและชุมชน เป็นพื้นฐานที่สำคัญของการเกิดสังคมแห่งความสุขอย่างยั่งยืน

References

กรมการท่องเที่ยว. (2561). แผนยุทธศาสตร์พัฒนาการท่องเที่ยว พ.ศ.2561 – 2564 ของกรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: วีไอพี ก๊อปปี้ปริ้น.

นิสการก์ เวชยานนท์. (2551). มิติใหม่ในการบริหารทุนมนุษย์. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พิศาพิมพ์ จันทร์พรหม. (2545). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทขึน. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.

สถาบันพระปกเกล้า. (2565). การประชุมเวทีสาธารณะ สันติภาพเชิงสร้างสรรค์ สัมพันธภาพใหม่ที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

สมาคมพิพิธภัณฑ์ไทย. (2565). พิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิตจังหวัดบึงกาฬ. สืบค้น 15 กันยายน 2565, จาก https://museumassociation.or.th

สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา. (2562). ทุนทางวัฒนธรรม กรณีศึกษาทุนทางวัฒนธรรมอาหารคาว.กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา.

Wikipedia. (2565). จังหวัดบึงกาฬ. สืบค้น 3 กันยายน 2565, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/จังหวัดบึงกาฬ

UNESCO. (2006). Towards Sustainable Strategies for Creative Tourism: Discussion Report of the Planning Meeting for 2008. International Conference on Creative Tourism. Paris: UNESCO.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-31

How to Cite