นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพโดยใช้หลักพุทธธรรม

ผู้แต่ง

  • ปาริชาติ เปรมวิชัย นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ, หลักไตรสิกขา, ธรรมานามัย

บทคัดย่อ

บทความนี้การนำเสนอแนวคิดในการบูรณาการหลักธรรมของพระพุทธศาสนา ได้แก่ หลักไตรสิกขา ซึ่งประกอบด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา มาประยุกต์ในการดูแลสุขภาพ และหลักธรรมานามัย ปรัชญาการดูแลสุขภาพด้วยหลักธรรมานามัย ธรรมานามัย มาจาก 2 คำ ได้แก่ คำว่า ธรรมะ กับ คำว่า อนามัย ธรรมะ คือ ธรรมชาติ และส่วนอนามัย คือ การมีสุขภาพกายที่ดี ดังนั้น “ธรรมานามัย” จึงหมายถึง Healthy by natural method หรือการมีสุขภาพดีด้วยวิถีธรรมชาติ มาประยุกต์บนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ โดยความสำคัญของระบบสุขภาพ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทยจะต้องเตรียมความพร้อมในงานด้านสาธารณสุข ความสำเร็จของนโยบาย ได้ดำเนินการผ่านแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านสาธารณสุข ระยะแรก คือ ระยะปฏิรูประบบ กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศใช้ยุทธศาสตร์ “ประชาชนแข็งแรง เศรษฐกิจแข็งแรง ประเทศไทยแข็งแรง” ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่สะท้อนถึงระบบบริการแบบองค์รวม มีการผสานบริการอย่างหลากหลาย อยู่ใกล้ชิดวิถีชุมชน สร้างเสริมความเป็นธรรม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ จัดระบบเครือข่ายการส่งต่อเพื่อการดูแลที่เป็นระบบ มีกลไกบริหารนโยบายและยุทธศาสตร์ ให้สามารถขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติ ผ่านกระบวนการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ ซึ่งใช้เป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม ระยะปฏิรูประบบนี้ พบว่า กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการกำหนดนโยบาย โดยให้ความสำคัญทั้งในเรื่องของตัวแสดงในกระบวนนโยบายสาธารณะ และตัวแบบเพื่อการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ โดยการเลือกนโยบายที่เหมาะสมที่สุด เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้ตามความต้องการ มีการทบทวนประเด็น ยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัด และเป้าหมาย บนพื้นฐานของหลักจริยธรรม คุณธรรม และค่านิยม

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2559). แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564). คณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข.

พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต). (2553). ธรรมนูญชีวิต (พิมพ์ครั้งที่ 122). กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

วาธิณี วงศาโรจน์ และคณะ. (2565). นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ : ประชาชนแข็งแรง เศรษฐกิจแข็งแรงประเทศไทยแข็งแรง. Journal of Modern Learning Development, 7(3), 295-309.

วิสุทธิ บุญญะโสภิต และ นิรชา อัศวธีรากุล. (2555). นโยบายสาธารณะ: เครื่องมือการขับเคลื่อนสุขภาพ ชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน (สพช.).

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2544). นโยบายสาธารณะ: แนวความคิด การวิเคราะห์และกระบวนการ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สัญญา เคณาภูมิ และบุรฉัตร จันทร์แดง (2562) ตัวแบบทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปสู่การปฏิบัติ. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 3(1), 95-115.

สุกรี กาเดร์. (2561). การดูแลสุขภาพด้วยหลักธรรมานามัย. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล.

เสาวณี จันทะพงษ์และ ทศพล ต้องหุ้ย. (2563). ผลกระทบวิกฤต COVID-19 กับเศรษฐกิจโลก: This Time is Different. สืบค้น 19 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications.

อวย เกตุสิงห์. (2565). หลักธรรมานามัย. สืบค้น 2 กรกฎาคม 2565, จาก mgronline.com.

อำพล จินดาวัฒนะ. (2551). การสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม : มิติใหม่ของการสร้างเสริมสุขภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-10

How to Cite