การบริหารการฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดวัดถ้ำกระบอก อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี

ผู้แต่ง

  • พระสมุห์บุญโชค กิตฺติสาโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุรินทร์ นิยมางกูร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สมาน งามสนิท มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบริหาร, ปัจจัยที่ส่งผล, การฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหาร ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารการ และนำเสนอการประยุกต์หลักพุทธธรรมในการพัฒนาการบริหารการฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดวัดถ้ำกระบอก อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณดำเนินการโดยศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวน 123 คน ซึ่งเป็นผู้เข้ารับการบำบัด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม การวิจัยเชิงคุณภาพดำเนินการ โดยสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า การบริหารการฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดตามหลักอิทธิบาท 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน ปัจจัยการบริหารการฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดวัดถ้ำกระบอก ปัจจัยการบริหารการฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก แนวทางการพัฒนาการบริหารการฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด วัดถ้ำกระบอก อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ประกอบด้วย ด้านการฟื้นฟูทางกาย ด้านการฟื้นฟูทางใจ ด้านการส่งเสริมอาชีพ

References

กัลยา นาคลังกา และคณะ. (2561). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการของสหกรณ์เคหสถานชุมชนริมคลองลาดพร้าว. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 9(2), 210-233.

ไกรวิน ไชยวรรณ. (2559). การเสริมสร้างประสิทธิภาพการบริหารงานบุคลากรด้านการบินด้วยหลักพุทธธรรมของสถาบันการบินพลเรือน (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

จันทิกา สุภาพงษ์. (2561). การพัฒนารูปแบบการประเมินการบริหารจัดการของสหกรณ์เคหสถาน ชุมชนริมคลองลาดพร้าว. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 4(2), 377-393.

ชมพูนุท ศรีจันทร์นิล. (2552). จิตวิทยาแนวพุทธ: แนวทางเพื่อการเยียวยาและพัฒนาจิตใจมนุษย์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 29(4), 188-208.

นันท์ชัตสัณห์ สกุลพงศ์. (2559). พลังสุขภาพจิตในผู้ติดยาเสพติดหญิง: การวิจัยแบบผสานวิธีพหุระยะเพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดและประสิทธิผลการปรึกษาทางจิตวิทยาแบบกลุ่มบูรณาการ (ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นันทา ชัยพิชิตพันธ์. (2558). การพัฒนารูปแบบการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพในผู้ป่วยเสพติดยาบ้า: การวิจัยเชิงการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเวชศาสตร์ชุมชนและเวชศาสตร์ครอบครัว). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พรรษมณฑ์ ศรีนวลนัด. (2561). ตราบาปนักโทษยาเสพติด. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 4(2), 83-88.

พระครูนนทกิจโกศล (สิริชัย สิริชโย). (2563). รูปแบบการจัดการความรู้ของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดนนทบุรี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(4), 1429-1438.

พระทนงค์ศักดิ์ ดื่นขุนทด. (2561). รูปแบบการดำเนินโครงการปฏิบัติธรรมสำหรับเยาวชน เพื่อความเข้มแข็งของชุมชนในอีสานใต้. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 7(1), 250-264.

พระเทพสุวรรณเมธี (สุชาติ กิตฺติปฺญฺโญ) และ สุพิชฌาย์ พรพิชณรงค์. (2560). หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนากับการเยียวยาบาดแผลทางใจ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 5(3), 354-365.

พระมหาวีระชาติ โปธา. (2562). การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาทธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 14(48), 59-69.

พระมหาสุริยา อภิวฑฺฒโน (มะสันเทียะ). (2564). ประสิทธิผลการบริหารจัดการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 11 (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เฟื่องฟ้า ปัญญา. (2563). การทำธุรกิจของผู้สูงวัยที่ประสบความสำเร็จ: การวิจัยแบบพหุกรณีศึกษา. วารสารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ, 12(1), 1-29.

ระพีพัฒน์ วงษ์ภักดี และคณะ. (2563). การบริหารจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนบ้านสวัสดี ตำบลกลันทา อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสาร มมร วิทยาเขตล้านนา, 27(1), 59-68.

รัชฎากร เอี่ยมอำไพ. (2562). การใช้หลักอิทธิบาท 4 ต่อการพัฒนาศักยภาพของผู้สูงอายุ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาราชภัฏเลย, 14(48), 51-58.

อาทิตยา จุฬาเสรีกุล. (2559). การใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารการศึกษา วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. วารสารธรรมทัศน์, 16(1): 41-51.

Krejcie, R.V. & Morgan, E.W. (1970). Educational and Psychological Measurement. New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-10

How to Cite