การมีส่วนร่วมของประชาชนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • แสนสุริยา รักเสมอ นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมของประชาชน, การปกครองส่วนท้องถิ่น, พุทธธรรมสังคหวัตถุ

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. ต้องการให้ประชาชนเกิดความผูกพัน รู้สึกรัก และมีจิตสำนึกเป็นเจ้าของท้องถิ่นร่วมกัน 2. ต้องการให้ผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่น บริหารงานด้วยความโปร่งใส ตรงกับความต้องการของประชาชน และรับผิดชอบต่อประชาชนให้มากขึ้น และ 3. เพื่อให้มีการตรวจสอบการบริหารจัดการของผู้บริหารและสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกขั้นตอน จึงควรนำหลักพุทธธรรม สังคหวัตถุ 4 มาปรับใช้กับกระบวนการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับประชาชน ด้วยการแบ่งปันข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนทุกภาคส่วนด้วยปิยะวาจา การสละเวลารับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนจะสามารถสร้างประโยชน์จากผู้อื่นได้ การสร้างโอกาสให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนมีสวนร่วมในการตัดสินใจต่อนโยบายสาธารณะและการปฏิบัติงานอย่างเสมอต้นเสมอปลายจะสามารถสร้างประโยชน์แก่ผู้อื่นได้ กลุ่มผู้แทนทุกภาคส่วนร่วมดำเนินกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่องเสมอต้นเสมอปลาย ตลอดจนดำเนินกิจกรรมที่มุ้งเน้นการส่งเสริมจริยธรรม การมอบบทบาทให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจด้วยการลงประชามติ เป็นการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งต้องเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2554). ประมวลการดำเนินการเปดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารราชการของจังหวัดที่เป็นกรณีศึกษาที่ดี (Best Practices) (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัทธรรมดาเพรส จำกัด.

______. (2560). การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม: เทคนิควิธีและการนําไปสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. (2550). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการดำเนินนโยบายของรัฐบาล ด้านการบริการ จัดหางาน. กรุงเทพฯ: กองแผนงานและสารสนเทศ กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน.

อรพินท์ สพโชคชัย. (2551). หลักสำคัญในการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม Participatory Governance Principle (การเปิดระบบราชการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม). สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). กรุงเทพฯ: สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การ มหาชน).

สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.). (2549). การมีส่วนร่วมของประชาชน. สืบค้น 20 กันยายน 2565, จาก https://recc.erc.or.th/index.php/2015-07-07-07-53-46/464-2010-02-01-08-32-52

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-31

How to Cite