การประยุกต์ใช้ภาวนา 4 เพื่อการพัฒนาศักยภาพนักกีฬาอาชีพ
คำสำคัญ:
ภาวนา 4, การพัฒนาศักยภาพ, นักกีฬาอาชีพบทคัดย่อ
บทความนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ภาวนา 4 เพื่อการพัฒนาศักยภาพนักกีฬาอาชีพ พบว่า ภาวนา แปลว่า ทำให้เจริญ ทำให้เป็น ทำให้มีขึ้น หรือฝึกอบรม หรือการพัฒนาบุคคล ดังนั้น 1. นักกีฬามีกายที่พัฒนาแล้ว (ภาวิตกาโย) คือ มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ซึ่งการพัฒนาร่างกายให้แข็งแรงจะช่วยลดโอกาสการบาดเจ็บ ทำให้เล่นกีฬาได้มีประสิทธิภาพ และเพิ่มสมรรถนะการเล่นกีฬาในระดับการแข่งขันเพื่อชัยชนะ
2. นักกีฬามีศีลที่พัฒนาแล้ว (ภาวิตสีโล) คือ มีพฤติกรรมทางสังคมที่พัฒนาแล้ว ตั้งอยู่ในวินัยและสุจริต การเข้าสังคมทำได้ดี 3. นักกีฬามีจิตที่พัฒนาแล้ว (ภาวิตจิตฺโต) คือ มีจิตในที่ฝึกอบรมดีแล้วสมบูรณ์ด้วยคุณภาพจิต ประโยชน์ของการฝึกสติให้กับนักกีฬา จะสามารถช่วยนักกีฬาให้ลดความเครียดและความวิตกกังวล เพิ่มสมาธิ และทำให้นอนหลับได้ดีขึ้น เพิ่มพัฒนาทักษะทางสังคม และพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ 4. นักกีฬามีปัญญาที่พัฒนาแล้ว
(ภาวิตปญฺโญ) คือรู้จักคิดรู้จักพิจารณา รู้จักวินิจฉัย รู้จักแก้ปัญหา ซึ่งการออกกำลังกายเพื่อแข่งขันกีฬา สมองจะพัฒนากระบวนการทางสติปัญญา กีฬาอาชีพและสมองมีความสัมพันธ์กัน นักฟุตบอลอาชีพ นักมวย นักบาสเกตบอลย่อมเป็นคนฉลาด เพราะมีโอกาสของการพัฒนาทางสมองด้วย
References
การกีฬาแห่งประเทศไทย. (2565). แผนยุทธศาสตร์การกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2565–2570. (เอกสารอัดสำเนา). กรุงเทพฯ: การกีฬาแห่งประเทศไทย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2540). พุทธธรรมกับการพัฒนาชีวิต. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.
_____. (2544). พุทธธรรม (ฉบับเดิม) (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: ดวงแก้ว.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ (พิมพ์ครั้ง 10). กรุงเทพฯ: เอส. อาร์. พริ้นเตอร์แมส โปรดักส์.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). รายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสต์ชาติ ประจำปี 2562. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น