ประสิทธิภาพการบริหารงานตามหลักพุทธธรรมของอุตสาหกรรมยานยนต์ จังหวัดนนทบุรีในชีวิตวิถีใหม่

ผู้แต่ง

  • ณรงค์ศักดิ์ ทั่งทอง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พงศ์พัฒน์ จิตตานุรักษ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุริยา รักษาเมือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบริหารงานตามหลักพุทธธรรม, อุตสาหกรรมยานยนต์, ชีวิตวิถีใหม่

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพทั่วไปของการบริหารงานตามหลักพุทธธรรมของอุตสาหกรรมยานยนต์จังหวัดนนทบุรีในความปกติใหม่ 2. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักอิทธิบาท 4 กับประสิทธิภาพการบริหารงานตามหลักพุทธธรรมของอุตสาหกรรมยานยนต์จังหวัดนนทบุรีในความปกติใหม่ 3. ศึกษาประสิทธิภาพการบริหารงานตามหลักพุทธธรรมของอุตสาหกรรมยานยนต์จังหวัดนนทบุรีในความปกติใหม่

          ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทั่วไปของการบริหารงานตามหลักพุทธธรรมของอุตสาหกรรมยานยนต์จังหวัดนนทบุรีในความปกติใหม่ พบว่า ระดับของการบริหารตามหลัก POCCC โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( =4.19) 2. ความสัมพันธ์ระหว่างหลักอิทธิบาท 4 กับประสิทธิภาพการบริหารงานตามหลักพุทธธรรมของอุตสาหกรรมยานยนต์จังหวัดนนทบุรีในความปกติใหม่ พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ทุกด้าน ด้านวิมังสา ความไตร่ตรอง ด้านจิตตะ ความเอาใจใส่ ด้านวิริยะ ความเพียร และด้านฉันทะ ความพอใจ จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย 3. ประสิทธิภาพการบริหารงานตามหลักพุทธธรรมของอุตสาหกรรมยานยนต์จังหวัดนนทบุรีในความปกติใหม่ พบว่า ด้านคุณภาพของงาน สินค้ามีคุณภาพได้มาตรฐานและใช้งบประมาณในการดำเนินการอย่างคุ้มค่า

References

จิตตานันท์ ติกุล และคณะ. (2559). รูปแบบการบริหารจัดการที่เหมาะสมของศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (รายงานผลการวิจัย). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

เจริญชัย กุลวัฒนาพร. (2563). รูปแบบการจัดการคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อมโดยการบูรณาการหลักพุทธธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสมุทรปราการ (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ธงชัย คล้ายแสง. (2562). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงกีฬาโดยการบูรณาการหลักพุทธธรรมของจังหวัดบุรีรัมย์ (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ปรัชญา ชุ่มนาเสียว. (2553). รูปแบบกลยุทธ์การจัดองค์การแห่งการเรียนรู้เพื่อการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พระมหาปรีชา เขมนนฺโท (เหล่าทวีคุณ). (2561). การประยุกต์หลักอิทธิบาทธรรมเพื่อการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาวิเศษ กนฺตธมฺโม (มั่งคั่ง). (2564). พุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารงานของเทศบาลเมืองในจังหวัดชลบุรี (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พนม กุณาวงค์. (2547). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการบริหารกิจกรรมรับรองคุณภาพโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. วารสารวิชาการและการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช, 2(2), 23-42.

พัทธนัญพร พิพิธวรโภคิน. (2563). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อเพิ่มผลิตภาพในการปฏิบัติราชการของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

มนตรี พรมวัน. (2563). รูปแบบประสิทธิผลการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวในจังหวัดเชียงใหม่ (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วรรณา ยงพิศาลภพ. (2565). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรมปี 2563-2565 : อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์. สืบค้น 10 กันยายน 2564, จาก https://www.krungsri.com/th/reserch/industry/industry-outlook/Hi-tech-Industries/AutoParts/IO/IndustryOut

สรรเสริญ อินทรัตน์. (2550). กลยุทธ์การบริหารจัดการตามกระบวนทัศน์ธรรมาภิบาลในองค์การบริหารส่วนตำบล กรณีศึกษาเฉพาะ ในเขตจังหวัดภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย (วิทยานิพนธ์การจัดการดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการภาครัฐ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2565). ข้อมูลจังหวัดนนทบุรีภาคธุรกิจยานยนต์. สืบค้น 10 กันยายน 2564, จาก https://app.powerbi.com/

สุทิน สลางสิงห์. (2564). ประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลังของโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดมุกดาหาร. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 14(2), 152-153.

Alan, P. (2004). Human Resource Management in a Business Context (2nd Edition). London: Thomson Learning.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-31

How to Cite