วิธีการควบคุมตัวพระภิกษุสงฆ์ผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดทางอาญาซึ่งจะต้องถูกควบคุมตัวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาคดีอาญา
คำสำคัญ:
การควบคุม, การถูกกล่าวหา, พระภิกษุถูกจับบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. ศึกษาแนวคิด และทฤษฎีทางกฎหมายเกี่ยวกับการสละสมณเพศเนื่องจากการกระทำความผิดอาญาและพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ 2. ศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการสละสมณเพศเนื่องจากการกระทำความผิดอาญาและพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ และ 3. หาข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขเพื่อหาวิธีที่เหมาะสม
ในกรณี มาตรา 29 ที่กำหนดให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจเต็มเปี่ยมในการใช้อำนาจดุลยพินิจ ถ้าเห็นว่าไม่ควรปล่อยตัวก็สามารถบังคับให้พระภิกษุสละสมณเพศทันทีเสียก็ได้ และมาตรา 30 กรณีที่กำหนดให้พระภิกษุต้องสละ สมณเพศ เนื่องจากศาลมีคำสั่งขัง ซึ่งพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอหมายขังและศาลมีคำสั่งอนุญาต พระภิกษุนั้นก็จะต้องสละสมณเพศ ก่อนนำตัวไปขังตามคำสั่งศาลต่อไป
ปัญหาดังกล่าว ถือเป็นการที่พระภิกษุไม่ได้รับความเป็นธรรมเท่าที่ควร จึงเห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมความในมาตรา 29 เพื่อมิให้พนักงานสอบสวนใช้อำนาจดุลยพินิจเพียงฝ่ายเดียว และควรแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 30 ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งขังจะทำได้เฉพาะพระภิกษุที่กระทำความผิดซึ่งหน้าหรือต้องโทษอาญามาก่อน และควรต้องมีการจัดตั้งสำนักงานพระพุทธศาสนามีนิติกรขึ้นมาเป็นการโดยเฉพาะ เพื่อมาตัดสินความผิดลงโทษตามพระธรรมวินัย
References
กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ. (2541). อธิบายพระวินัยสำหรับนักธรรมชั้นตรี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.
จิตติ ติงศิภัทย์. (2513). คำอธิบายประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ตอนที่ 2 และภาคที่ 3. กรุงเทพฯ: แสงทองการพิมพ์.
ชาญชัย แสวงศักดิ์ และวรรณชัย บุญบำรุง. (2543). สาระน่ารู้เกี่ยวกับการจัดทำประมวลกฎหมายของต่างประเทศและของไทย. กรุงเทพฯ: นิติธรรม.
ปรีดี เกษมทรัพย์. (2543). นิติปรัชญา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.
ปลื้ม โซดิษฐยางกูร. (2553). คำบรรยายกฎหมายคณะสงฆ์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงมหาวิทยาลัย.
พระเทพเวที (ป.อ. ปยุตฺโต). (2532). พุทธศาสนากับสังคมไทย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง.
พระพรหมคุณากร (ป.อ. ปยุตฺโต). (2555). นิติศาสตร์แนวพุทธ (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
พระมหาสมบัติ มูลศิริ (2561). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับมาตรการลงโทษข้อบังคับพระภิกษุสละสมณเพศตามมาตรา 29 ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์) ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยปทุมธานี.
สมชาย บุญคงมาก และภูภณัช รัตนชัย. (2561). ปัญหาการสละสมณเพศของพระภิกษุตาม พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505: ศึกษากรณีการใช้อำนาจดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐในกระบวนการยุติธรรม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ นายเรืออากาศ, 6(ธันวาคม 2561), 19-23.
พระครูวินัยธร สุริโย. (2564). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการสละสมณเพศเนื่องจากการกระทำความผิดอาญา. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(2), 146-152.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น