ระบบนิเวศบริการของป่าชุมชนกับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม
คำสำคัญ:
ระบบนิเวศบริการ, ป่าชุมชน, คุณภาพชีวิต, สิ่งแวดล้อมบทคัดย่อ
ป่าชุมชนเป็นพื้นที่ป่าที่อยู่รอบหรืออยู่ใกล้ชุมชน คนในชุมชนใช้บริการจากระบบนิเวศป่าชุมชน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการเป็นแหล่งผลิต ด้านการควบคุมกลไกสมดุลธรรมชาติ ด้านวัฒนธรรม และด้านการสนับสนุน ระบบนิเวศบริการของป่าชุมชนจึงทำให้ประชากรในชุมชนมีความอยู่ดีมีสุข นอกจากนี้ป่าไม้ยังมีความสำคัญในการกักเก็บคาร์บอนในรูปของเนื้อไม้ ปัจจุบันมีการประเมินมูลค่านิเวศบริการของป่าไม้เพื่อเป็นเครื่องมือประกอบการตัดสินใจ ความคุ้มค่าและความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากโครงการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินตามนโยบายของรัฐบาลหรือการสัมปทานของเอกชน ภายหลังมีการแสดงความรับผิดชอบทางเศรษฐกิจต่อการใช้บริการทางระบบนิเวศโดยการจ่ายค่าตอบแทนให้การบริการของระบบ ระบบนิเวศบริการของป่าชุมชนเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจ อาชีพ วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญา อาหาร ยา ความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในผืนป่า และส่งผลต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพ โดยช่วยลดปัญหาความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมและการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และมีบทบาทสำคัญในการกักเก็บและดูดซับคาร์บอนจากบรรยากาศ ยังไม่มีกฎหมายรองรับการจัดการร่วมระหว่างประชาชนและภาครัฐในเขตป่าอนุรักษ์ ป่าชุมชนและการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง รัฐใช้มาตราการส่งเสริมให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการจัดการภายใต้โครงการป่าชุมชน แต่เกิดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงทรัพยากร และความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศ การใช้ประโยชน์จากป่าอย่างยั่งยืนจำเป็นต้องมีการจัดการที่เหมาะสม
โดยชุมชนมีส่วนร่วมในการวางกฎระเบียบการใช้ทรัพยากรร่วมกัน และดูแลให้ป่าเป็นแหล่งบริการทางระบบนิเวศให้กับชุมชนและบุคคลภายนอก
References
ธนวิทย์ ถมกระจ่าง และ เอกกมล วรรณเมธี. (2561). การประเมินปริมาณคาร์บอนของป่าชุมชนด้วยเทคนิคอากาศยานไร้คนขับ กรณีศึกษาป่าชุมชนบ้านบุตาต้อง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการเทคโนโลยี พลังงานและสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม, 5(1), 34-42.
พรพิมล ชำรัมย์. (2556). การจัดการป่าชุมชนในฐานะที่เป็นทรัพยากรวัฒนธรรม กรณีศึกษา: บ้านสามขา หมู่ 6 ตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง(วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พีรภัทร ศรีวัฒน์ และวิศรุต หนูสอน. (2557). ป่าชุมชนกับระบบนิเวศบริการ: กรณีศึกษาพื้นที่ป่าชุมชนบ้านห้วยสะพาน อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี (ภาคนิพนธ์วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภูมิศาสตร์). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์. (2542). ป่าชุมชน: สาระสำคัญและประเด็น. กรุงเทพฯ: แผนงานสนับสนุนป่าชุมชนในประเทศไทย.
วิทยากร เชียงกุล. (2557). เพื่อการปฏิรูปมนุษย์และสังคมอย่างลึกซึ้ง. กรุงเทพฯ: แสงดาว.
สมศักดิ์ สุขวงศ์. (2550). การจัดการป่าชุมชน: เพื่อคนและเพื่อป่า. กรุงเทพฯ: บริษัททวีวัฒน์การพิมพ์.
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2550). แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2550-2554. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.
สุทธิพันธ์ อรัญญวาส และคณะ. (2563). ป่าชุมชน: แนวคิดทางนิเวศวิทยาในการจัดการป่าไม้ (ป่าชุมชน) ของพระสงฆ์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 7(2), 230-246.
สุธาวัลย์ เสถียรไทย. (2538). สิทธิและปัญหาทรัพยากรธรรมชาติประเภทที่ใช้ร่วมกัน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน องค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และมูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย. (2013). คุณค่าระบบนิเวศและบริการของระบบนิเวศสำหรับภาคธุรกิจ. สืบค้น 2 ธันวาคม 2565, จาก http://www.tei.or.th/publications/2013-download/2013-TBCSD-giz-valuable-ecosystem-businesses.pdf
Boyd, J. (2011). Valuation of Ecosystem Services. 2011 Ecosystem Services Seminar Series. Retrieved November 19, 2022, from https://www.moore.org/materials/Ecosystem-Services-Full-Seminar-Series.pdf
Boyd, J. & Banzhaf, S. (2007). What are ecosystem services? The need for standardized environmental accounting units. Ecological Economics, 63(2-3): 616-626.
Costanza, R., et al. (1997). The value of the world’s ecosystem services and natural capital. Nature, 387, 253-260.
Daily, G.C. (1997). Nature’s services: Societal dependence on natural ecosystems. Washington, DC.: Island Press.
Farley, J. & Costanza, R. (2010). Payments for ecosystem services: From local to global. Ecological Economics, 69(11), 2060-2068.
Marod, D. & Kutintara, U. (2009). Forest ecology. Bangkok: Aksorn Siam Limited Partnership.
Millennium Ecosystem Assessment. (2005). Ecosystem and human well-being a framework for assessment. Washington DC: Island Press.
Ostrom, E. (1990). Governing the Commons: The Evolution of Institutions for Collective Action. New York: Cambridge University Press.
World Bank. (2012). Inclusive green growth: The pathway to sustainable development. Washington D.C.: The World Bank.
WWF ประเทศไทย. (2013). ความหลากหลายทางชีวภาพ ระบบนิเวศ และความยั่งยืน. สืบค้น19ธันวาคม 2565, จาก https://wwfasia.awsassets.panda.org/downloads/wwf_thailand_thai_final.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น