กลุ่มสัจจะออมทรัพย์กับการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ไทย ในการบริหารจัดการ

ผู้แต่ง

  • พระครูวิมลโสมนันท์ (โชคชัย อุคฺคเสโน) วัดท่าโสม ตำบลท่าโสม อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด

คำสำคัญ:

กลุ่มสัจจะออมทรัพย์, พระสงฆ์, การบริหารจัดการ

บทคัดย่อ

งานด้านสาธารณสงเคราะห์เป็น 1 ในพันธกิจของการบริหารกิจการพระพุทธศาสนาตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับที่ 23 (พ.ศ.2541) สามารถแยกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ สงเคราะห์ทางวัตถุ และสงเคราะห์ทางจิตใจ พระสงฆ์มีส่วนร่วมในการให้แนวคิดและขับเคลื่อนมีการบริหารจัดการกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ในเขตพื้นที่นั้น ๆ โดยยึดโยงกับหลักเดิมคือกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ที่พระอาจารย์สุบิน ปณีโต วัดไผ่ล้อม จังหวัดตราด ได้ริเริ่มทำไว้ในจังหวัดตราด จนสามารถต่อยอดแนวคิดในหลายที่ที่ผู้เขียนยกตัวอย่างคือ วัดท่าโสม อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด ในลักษณะที่ว่า เป็นการเก็บเงินไว้ในยามลำบาก โดยถือสัจจะเป็นสำคัญ โดยมีกฎเกณฑ์กติกาในกลุ่มพอสมควร เช่น สมาชิกต้องเป็นคนในหมู่บ้านนั้น อย่างน้อย 1 ปี เต็ม ยกเว้นที่ปรึกษา เป็นต้น

กลุ่มสัจจะออมทรัพย์สำเร็จได้ด้วยหลักการส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มหรือองค์กรของพระสงฆ์ โดยผ่านกระบวนการดำเนินกิจกรรมกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ ที่ผสมผสานหลักคำสอนทางศาสนาพุทธประยุกต์หลักธรรมคือ ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ เป็นหลักธรรมในพุทธศาสนา ประกอบด้วยหลักธรรม 4 ประการ คือ 1.อุฏฐานสัมปทา ขยันหาทรัพย์ 2.อารักขสัมปทา รู้จักอดออม 3.กัลยาณมิตตตา คบคนดีเป็นเพื่อน 4.สมชีวิตา ไม่ฟุ่มเฟือยอยู่อย่างพอเพียง กลุ่มสัจจะออมทรัพย์จึงทำให้เกิดประโยชน์ต่อพระสงฆ์ ชุมชนและประเทศชาติ

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2543). กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต. กรุงเทพฯ: บุ๊คส์สโตน์.

_______. (2552). งานของกรมการพัฒนาชุมชน ปี 2552. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตน์.

ชำเลือง วุฒิจันทร์. (2526). การพระศาสนาเพื่อความมั่นคงของชาติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

ไทยพลับริก้า. (2555). พระสุบิน ปณีโต สร้างผู้ประกอบการเพื่อสังคม ใช้ “วัด-พระ” เชื่อมใจชุมชน สร้างกำไรให้ “คนแตก-สังคมแตก”. สืบค้น 26 ธันวาคม 2565, จาก https://thaipublica.org/2012/03/phra-subin-social-entrepreneur/.

แบบรายงานข้อมูลกองทุนสัจจะสะสมทรัพย์บ้านท่าโสม. (2565). กองทุนสัจจะสะสมทรัพย์บ้านท่าโสม 2565. ม.ปท.

พระครูวิมลโสมนันท์ และ สุพจน์ แสงเงิน. (2553). ความพึงพอใจของประชาชนที่ใช้บริการกลุ่มสัจจะออมทรัพย์วัดท่าโสม ตำบลท่าโสม อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร: ม.ป.ท.

พระราชวรมุนี (ประยุทธ ปยุตฺโต). (2527). ลักษณะของสังคมพุทธ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง.

พุทธทาสภิกขุ (เงื้อม อินฺทปญฺโญ). (2537). การสังคมสงเคราะห์ส่วนที่ยังขาดอยู่. นนทบุรี: บริษัท พิมพ์ดี จำกัด.

ภราดร ปรีดาศักดิ์. (2541). บทบาทสหกรณ์การเกษตรและกลุ่มออมทรัพย์ที่มีต่อตลาดเงินในชนบทไทย 2539 (รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการตลาดการเงินในชนบทไทย). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (บาลี). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อารีย์ เชื้อเมืองพาน. (2542). กลุ่มออมทรัพย์ : สถาบันการเงินเพื่อพัฒนาชุมชน. วารสารแม่โจ้ปริทรรศน์, 6(2), 42-57.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-10

How to Cite