พระสงฆ์กับการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธ์ในจังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • พระสมุห์สุรินทร์ รตนโชโต (สนธิเวช) วัดป่าพุทธาราม

คำสำคัญ:

พระสงฆ์, การอนุรักษ์วัฒนธรรม, กลุ่มชาติพันธ์ในจังหวัดราชบุรี

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. กลุ่มชาติพันธ์ในจังหวัดราชบุรี 2. พระสงฆ์กับการมีส่วนร่วมในส่งเสริมกิจกรรมของชนชาติพันธ์ 3. พระสงฆ์กับบทบาทในการบริหารตลาดชุมชน

ผลการศึกษาพบว่า 1. ประชากรในจังหวัดราชบุรีมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์อันเป็นลักษณะเด่นของจังหวัดที่สืบทอดมาแต่โบราณกาล ทั้งนี้เพราะสภาพภูมิประเทศที่เสริมให้เมืองราชบุรีเป็นอู่รวมทางวัฒนธรรม จึงประกอบด้วยชนหลายเชื้อชาติ แต่ละเชื้อชาติมีความแตกต่างกันทางวัฒนธรรมและประเพณี ประกอบด้วย 1) คนไทยภาคกลางพื้นถิ่น 2) ชาวไทยจีน 3) ชาวไท – ยวน 4) ชาวไทยมอญ 5) ชาวไทยกะเหรี่ยง 6) ชาวไทยลาวโซ่ง 7) ชาวไทยลาวตี้ 8) ชาวไทยเขมร 2. วัดในจังหวัดราชบุรีมีบทบาทในการส่งเสริมกิจกรรมและเปิดโอกาสให้กลุ่มชาติพันธุ์ได้มีโอกาสทำบุญและได้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นอย่างดีสังเกตได้จากหลาย ๆ วัดที่มีการจัดกิจกรรมในช่วงมีประเพณีต่าง ๆ จะมีการละเล่น ผ่านบทเพลง ดนตรี ที่นำมาซึ่งความสนุกสนานร่าเริงและเป็นกันเอง 3. การจัดตั้งตลาดชุมชุม (เช่น วัดดอนกระเบื้อง วัดโขลงสุวรรณคิรี วัดขนอนหนังใหญ่ เป็นต้น) เกิดจากการมีส่วนร่วมของคณะสงฆ์และประชาชน โดยวัดให้การแสดงความคิด การสนับสนุนงบประมาณ การอำนวยความสะดวกเรื่องสถานที่ หรือ เรื่องอื่น ๆ

References

กาดวิถีชุมชนคูบัว ราชบุรี .(2560). กาดวิถีชุมชนคูบัว เดินดินกินโตก ตลาดโบราณน่าเดินแห่งใหม่ที่ราชบุรี. สืบค้น 16 ธันวาคม 2565, จาก travel.kapook.com/view180829.

เที่ยวราชบุรี.com.(2565).ซาสุขใจ ตลาดวิถีไทย-มอญ.สืบค้น 16 ธันวาคม 2565, จาก https://shorturl.asia/ZF2wn.

ประเวศ วะสี .(2540). บทสัมภาษณ์ในประชาสังคม: ทรรศนะนักคิดในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.

พรชัย พันธ์งาม. (2540). การพัฒนางานสาธารณสุขมูลฐานโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในอำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พรประภา กิจโกศล. (2544). บทบาทและผลได้ต่อการพัฒนาชนบทของพระสงฆ์: ศึกษาเฉพาะกรณีบ้านโนนเมือง จังหวัดนครราชสีมา (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มติชนออนไลน์. (2561). ชวนเที่ยวตลาดด่านขนอน ชมหนังใหญ่ ชิมอาหารพื้นบ้านในภาชนะใบบัว. สืบค้น 16 ธันวาคม 2565, จาก https://www.matichon.co.th/region

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). (2547). รวมบทความว่าด้วยแนวทางการศึกษาชาติพันธุ์ (เอกสารวิชาการลำดับที่ 36). กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์กามหาชน).

สมาคมสร้างสังคมและสิ่งแวดล้อม. (2553). การสืบทอดและร่วมสร้างสำนึกทางวัฒนธรรมการใช้ทรัพยากรท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ชองอำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: กระทรวงวัฒนธรรม.

สุเทพ สุนทรเภสัช. (2548). ชาติพันธุ์สัมพันธ์. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.

สุริยา สมุทคุปติ์ และคณะ. (2540). วิธีคิดของคนไทย พิธีกรรมข่วงผีฟ้อนของลาวข้าวเจ้า จังหวัดนครราชสีมา (รายงานการวิจัย). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

Alba, D. R. (1992). “Ethnicity” in Encyclopedia of Sociology (Volume 2). New York: Macmillan Publishing Company.

UNICEF. (2005). Social Mobilization (Online), Available: http://www.fao.org.

WHO. (1988). Global Strategy for Health for all by the Year 2000. Geneva: WHO.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-10

How to Cite