การลดความขัดแย้งด้านข้อมูลจากการเสพสื่อออนไลน์ ด้วยพุทธสันติวิธี

ผู้แต่ง

  • วัชรี วัฒนาสุทธิวงศ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ความขัดแย้ง, การสื่อสารออนไลน์, พุทธสันติวิธี

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การสื่อสารออนไลน์ปัจจุบัน 2) การลดความขัดแย้งด้านข้อมูลจากการเสพสื่อออนไลน์ และ 3) แนวทางพุทธสันติวิธีจากหลักพระพุทธศาสนา ซึ่งปัจจุบันการสื่อสารออนไลน์เป็นช่องทางการสื่อสารที่รวดเร็ว เข้าถึงทุกชนชั้น เป็นข้อมูลที่มีทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพถ่าย คลิปวีดีโอ หรืออื่นๆที่มีผู้ทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ตามวัตถุประสงค์ของผู้ทำ ซึ่งอาจมีทั้งเจตนาดีหรือประสงค์ร้ายต่อสังคม จนกระทั่งเป็นการสื่อสารที่ก่อให้เกิดความรุนแรงในสังคมหรือประเทศชาติ

ผลการศึกษาพบว่า 1) การสื่อสาร คือ กระบวนการของการถ่ายทอดข่าวสาร จากบุคคล ฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า ผู้ส่งสาร ไปยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งที่เรียกว่า ผู้รับสาร โดยผ่านสื่อ เพราะฉะนั้นการสื่อสารในยุคออนไลน์จึงมีประโยชน์อย่างยิ่งกับยุคปัจจุบัน 2) การบริหารความขัดแย้งในการเสพสื่อออนไลน์ต้องมีการพิจารณาถึงการสื่อสารที่มาถึงผู้รับสารว่า ถูกต้อง ตรงประเด็น และเชื่อถือได้หรือไม่ มีการตรวจสอบและประเมินจากแหล่งที่มาของข่าวสารหรือสื่อแม้กระทั่งการจะตอบโต้ต้องมีการพิจารณาที่ไตร่ตรองดี โดยอาศัยหลักกฎหมายในการใช้สื่อ 3) ผู้รับสารที่พึงประสงค์ตามแนวของกาลามสูตร 10 ประการ แนวทางในการที่จะลดความขัดแย้ง คือ สัมมาทิฏฐิ ทางเกิดแห่งความคิดที่เป็นต้นทางของความดีงามทั้งปวง ประกอบด้วยลักษณะอยู่ 2 อย่าง 1) ปรโตโฆสะ การฟังจากผู้อื่น 2) โยนิโสมนสิการ ใช้ความคิดที่ถูกต้อง มีระบบ มีความน่าเชื่อถือ

References

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ .(2565). สื่อสังคมออนไลน์ เมื่อเกิดความขัดแย้งทางความคิด. สืบค้น 1 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://themodernist.in.th/digital-empathy/.

กศน.ออนไลน์. (2566). ประเภทของข่าว. สืบค้น 1 กุมภาพันธ์ 2566, จาก http://180.180.244.40/topic/

กิติมา สุรสนธิ. (2548). ความรู้ทางการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

คม ชัด ลึก ออนไลน์. (2565). คดี "แตงโม นิดา". สืบค้น วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.komchadluek.net.

พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส (นิธิบุณยากร). (2564) . พุทธสันติวิธี : การบูรณาการหลักการและเครื่องมือการจัดการความขัดแย้ง (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: หจก.ประยูรสาส์นไทยการพิมพ์.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วรภัทร์ ภู่เจริญ. (2547). คิดอย่างเป็นระบบและเทคนิคการแก้ปัญหา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ อริยชน จำกัด.

สุรพล สุยะพรหม และคณะ .(2555). ทฤษฎีองค์การและการจัดการเชิงพุทธ. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

David K. Berlo. (1960). The Process of Communication. New York: Holt, Rinehart, and Winston.

Schramm ed. (1960). The Process and Effects of Mass Communication. Urbana, III: University of Illinois Press.

Schramm. (1960). Nature of communication Between Humans. Urbana, III.: University of Illinois Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-10

How to Cite