การจับพระสึกก่อนนำตัวส่งให้พนักงานสอบสวน
คำสำคัญ:
การจับพระสึก, พนักงานสอบสวน, กฎหมายบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการคือ 1. ศึกษาหลักการ ทฤษฎี และความเป็นมาในอำนาจของตำรวจผู้จับกุมพระภิกษุซึ่งกระทำผิดอาญาแผ่นดิน และ 2. ศึกษาทำความเข้าใจข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจับกุมพระภิกษุในชั้นจับกุมก่อนนำตัวส่งพนักงานสอบสวน ผลการศึกษาพบว่า เมื่อพระภิกษุได้กระทำผิดอาญาแผ่นดินและถูกตำรวจจับกุมแต่ไม่ยอมสึกด้วยความสมัครใจ พนักงานสอบสวนมีอำนาจในการจับพระสึกได้ภายใต้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2535
References
เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. (2551). หลักกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จิรรัชการพิมพ์.
เจษฎา บัวบาล และวรันทร สิงห์งาม. (2552). กฎหมายไทยในการจับสึกพระ. วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 8(10), 1-18.
วุฒิ วิทิตานนท์. (2551). การสืบสวนคดีอาญา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คลังนานาวิทยา.
สถาบันนิติธรรมาลัย. (2566). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศกราช 2560. สืบค้น 20 มกราคม 2566, จาก https://www.drthawip.com/constitution/006
สำนักกฎหมายและวิชาการศาลยุติธรรม. (2559). ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. สืบค้น 20 มกราคม 2566, จาก https://jla.coj.go.th/th
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2561) พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕. สืบค้น 20 มกราคม 2566, จาก https://hr.onab.go.th
สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม. (2561). พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ และที่แก้ไข เพิ่มเติม. สืบค้น 20 มกราคม 2566, จาก https://ssc.onab.go.th
Ilaw. (2564). เปิดเกณฑ์การ สึกพระ ตามพ.ร.บ.คณะสงฆ์-กฎมหาเถรสมาคม. สืบค้น 25 มกราคม 2566, จาก https://ilaw.or.th/node/5848
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น