ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลทางการบริหารจัดการกองทุนเหมืองแร่

ผู้แต่ง

  • วัลลภ หลวงละ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุรมน จันทร์เจริญ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, การบริหารจัดการ, กองทุนเหมืองแร่

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยการเมือง สังคม เทคโนโลยี และเศรษฐกิจ ที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลทางการบริหารจัดการกองทุนเหมืองแร่ ประชากรเป็นผู้อยู่อาศัยที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในรัศมี 3 กิโลเมตร จากเหมืองแร่ ตำบลผาจุก จังหวัดอุตรดิตถ์ รวมทั้งสิ้น 1,564 ราย กลุ่มตัวอย่างทำการคัดเลือกแบบสุ่ม จากการแบ่งกลุ่มตามพื้นที่ในสัดส่วนที่เท่ากัน จำนวน 380 ราย เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม โดยมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.905 การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติร้อยละ ค่าความถี่ และการวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้าง

ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยทางสังคมมีอิทธิพลโดยรวมต่อประสิทธิผลทางการบริหารจัดการกองทุนเหมืองแร่มากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจ และด้านเทคโนโลยี ตามลำดับ

References

กานต์พิชชา ศิริ. (2562). การบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชน. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 20(3), 1-14.

กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่. (2559). ประกาศแนวทางการบริหารจัดการกองทุนพัฒนาหมู่บ้านรอบพื้นที่เหมืองแร่. กรุงเทพฯ: กองกฎหมาย.

ชาญวิทย์ ชัยกันย์. (2561). แนวคิดการแบ่งปันผลประโยชน์กับการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางสิ่งแวดล้อม. กรณีศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายสหรัฐอเมริกา. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 11(2), 7-31.

สำนักงานสถิติจังหวัดอุตรดิตถ์ (2564). รายงานสถิติจังหวัด. กรุงเทพฯ: สำนักสถิติพยากรณ์.

สุธน จิตร์มั่น และพิศมัย จารุจิตติพันธ์. (2561). แนวทางการบริหารกองทุนพัฒนาไฟฟ้าเพื่อพัฒนาชุมชน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, 6(3), 1130-1144.

อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา และคณะ. (2563). การศึกษาธรรมาภิบาลการบริหารกองทุนพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

อนิณ อรุณเรืองสวัสดิ์. (2561). เศรษฐศาสตร์มหภาค. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Batkin, A. (2001). Social Protection in Asia and the Pacific. Social Funds Theoretical Background in Asia.

Daniel, K. T., et.al. (2015). Attitudes of Local People to Mining Policies and Interventions. New York: Macmillan.

Dubina, K. S. (2017). Full Employment. An assumption within BLS projections. Monthly Labor Review, U.S. Bureau of Labor Statistics.

Hair, J. F., et.al. (2010). Multivariate Data Analysis: A global perspectives. Upper Saddle River, NJ: Pearson Education, International.

Kasimba, S. A., & Lujala, P. (2021). Community based participatory governance platforms and sharing of mining benefits. Evidence from Ghana. Oxford University Press and Community Development Journal 2021.

Meade, R. R. (2019). Foundations Impact. Community Development Journal.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-31

How to Cite