พุทธสันติวิธีกับโครงการพัฒนาธนาคารโค-กระบือที่สร้างสันติสุข แก่บุคคลและชุมชน

ผู้แต่ง

  • เพลินพิศ สืบพานิช นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

พุทธสันติวิธี, โครงการพัฒนาธนาคารโค-กระบือ

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. โครงการธนาคารโค-กระบือในปัจจุบัน 2. แนวทางการใช้หลักพุทธสันติวิธีในการพัฒนาโครงการธนาคารโค-กระบือ 3. โครงการธนาคารโค-กระบือสามารถสร้างสันติสุขภาวะให้แก่บุคคลและชุมชนได้อย่างไรโดยศึกษาจากหนังสือ รายงานวิจัย บทความวิชาการ วิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ ซึ่งโครงการธนาคารโค-กระบือเป็นทางเลือกหนึ่งในการแก้ปัญหาความยากจน และความเหลื่อมล้ำ

ผลการศึกษาพบว่า 1. โครงการธนาคารโค-กระบือมีจุดเริ่มต้นมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 เมื่อปี พ.ศ.2522 โดยในครั้งแรกกรมปศุสัตว์ได้นำกระบือจำนวน 280 ตัว ไปแจกจ่ายเกษตรกรผู้ยากจนในพื้นที่โครงการพัฒนาที่ราบเชิงเขาจังหวัดปราจีนบุรี 2. การใช้แนวทางพุทธสันติวิธีในการพัฒนาโครงการธนาคารโค-กระบือ โดยนำหลักธรรมหัวใจเศรษฐี และอิทธิบาทสี่ มาปรับใช้ในขั้นตอนการรับมอบและการอบรมสมาชิก
3. โครงการธนาคารโค-กระบือ ทำให้คนในชุมชนมีความรับผิดชอบ มีวิริยะอุตสาหะ มีหิริโอตัปปะ อดทนต่อการรอคอย มีความขยัน รู้จักการดำรงตน มีความพอเพียง เกษตรกรมีแนวโน้มรายได้มากขึ้นจากการเข้าร่วมโครงการเพราะมีอาชีพเสริมด้านปศุสัตว์ เมื่อคนในชุมชนมีรายได้สูงขึ้นความเหลื่อมล้ำน้อยลง ความขัดแย้งภายในลดลง ทำให้เกิดความสมานฉันท์และอยู่ร่วมกันในชุมชนอย่างสันติสุข

References

กรมปศุสัตว์. (2526). โครงการธนาคารโค-กระบือ ตามพระราชดำริ. สืบค้น 25 มกราคม 2566, จาก: https://web.ku.ac.th/king72/2526/ bankko.ht

_____. (2539). โครงการธนาคารโคและกระบือ. สืบค้น 25 มกราคม 2566, จาก https://www.web.ku.ac.th/king72/2539/kaset7.htm

_____. (2560). โครงการธนาคารโค-กระบือ ตามพระราชดำริ. สืบค้น 25 มกราคม 2566, จาก: https://pvlo-cmi.dld.go.th/Doc/.khxng-nihlwng/khorngkar-thnakhar-kho

คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2560). พระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ผกามาส รุ่งเรือง และคณะ. (2551). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความสำเร็จของโครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกรตามพระราชดําริ ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://esd.kps.ku.ac.th/ kukconference/img/gallery/article

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). (2545). ธรรมนูญชีวิต (พิมพ์ครั้งที่ 46). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมศาสนา.

พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส (นิธิบุณยากร). (2547). รูปแบบการจัดการความขัดแย้งโดยพุทธสันติวิธี กรณีลุ่มแม่น้ำแม่ตาช้าง จังหวัดเชียงใหม่.

(วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

_____. (2554). พุทธสันติวิธี : การบูรณากรหลักการและเครื่องมือจัดการความขัดแย้ง. กรุงเทพฯ: บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2552. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คพับลิเคชั่น.

วันชัย วัฒนศัพท์. (2555). ความขัดแย้ง: หลักการและเครื่องมือแก้ปัญหา. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

สุรพล สุยะพรหม และคณะ. (2555). ทฤษฎีองค์การและการจัดการเชิงพุทธ (พิมพ์ครั้งที่ 1). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำราญ สมพงษ์. (2559). ศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการสื่อสารเพื่อสันติภาพในสื่อออนไลน์ตามแนวทางพุทธสันติวิธี : กรณีศึกษาเว็บไซต์หนังสือพิมพ์คมชัดลึก (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). Poverty and Inequality Report. สืบค้น 13 กุมภาพันธ์ 2566, จาก http://www.nesdc.go.th

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2560). รายงานการประเมินผลโครงการธนาคารโค–กระบือ เพื่อเกษตรกรตามพระราชดำริ ปี 2559–2560.

สืบค้น 25 มกราคม 2566, จาก https:// www.oae.go.th/ assets/ portals /1 /fileups/evaoaedata/files/2559-2560.pdf

สุระพงษ์ ศรีปียะพันธุ์. (2550). การศึกษาปัญหา สาเหตุ และแนวทางแก้ไขการดำเนินงานโครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ จังหวัดหนองคาย (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-31

How to Cite