การรับรู้บทบาทผู้ตรวจสอบภายในของข้าราชการ องค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • ศศิกานต์ รอบคอบ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • แสงจิตต์ ไต่แสง มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

การรับรู้บทบาท, ผู้ตรวจสอบภายใน, ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการรับรู้บทบาทผู้ตรวจสอบภายใน 2) เปรียบเทียบการรับรู้บทบาทผู้ตรวจสอบภายใน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยในการรับรู้กับการรับรู้บทบาทผู้ตรวจสอบภายใน และ 4) ศึกษาแนวทางการพัฒนาบทบาท ผู้ตรวจสอบภายใน เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี.ประชากรในการวิจัย คือ ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เครื่องมือการวิจัยเชิงปริมาณเป็นแบบสอบถาม โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากรในการวิจัย จำนวน 192 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว หาความสัมพันธ์โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์ เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้บริหาร จำนวน 13 คน และวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

ผลการวิจัยพบว่า ระดับการรับรู้จำแนกตามปัจจัยการรับรู้และจำแนกตามบทบาทผู้ตรวจสอบภายในโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยระดับการศึกษาและประสบการณ์ทำงานทำให้ความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน แต่ส่วนราชการทำให้ความคิดเห็นแตกต่างกัน และปัจจัยในการรับรู้กับการรับรู้บทบาทผู้ตรวจสอบภายในมีความสัมพันธ์กันทางบวก สำหรับแนวทางการพัฒนาบทบาทผู้ตรวจสอบภายในผู้ตรวจสอบภายในควรปรับเปลี่ยนรูปแบบการปฏิบัติงาน โดยหน่วยรับตรวจควรให้ความร่วมมือและสนับสนุนการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบภายใน

References

กานต์ เสกขุนทด. (2560). แนวทางการพัฒนาระบบตรวจสอบภายใน ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารราชนครินทร์, 14(31), 53-62.

ขนิษฐา เจริญวงศ์. (2556). ความคิดเห็นของผู้รับตรวจเกี่ยวกับพฤติกรรมการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบภายใน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการบริหารธุรกิจ). จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ชนมน ภุชงค์. (2563). การรับรู้ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบภายใน ของบริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน). สืบค้น 6 พฤศจิกายน 2565, จาก https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/vlt15-2/6114993284.pdf

วันวิสาข์ ประเสริฐไชยกุล. (2562). ความคิดเห็นที่มีต่อการตรวจสอบภายในในมุมมองของผู้รับการตรวจ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (สำนักงานใหญ่) (ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตรวจสอบภายใน). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน. (2560). วิวัฒนาการ หลักการและประโยชน์ของการตรวจสอบภายใน. สืบค้น 13 มิถุนายน 2565, จากhttps://ia.erc.or.th/index.php/publishdoc/publishdoc-etc/87-2017-07-29-14-22-15

อรรัตน์ เรืองจำรัส. (2555). การรับรู้บทบาทของผู้ตรวจสอบภายในต่อประสิทธิภาการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในของธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ (ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

องค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (2565). แผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ องค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พ.ศ. 2565 - 2567. สืบค้น 12 พฤศจิกายน 2565, จาก http://aypao.go.th/ita/datas/file/1667201580.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-06

How to Cite