แนวทางการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคอ้วน ตำบลนาเสียว อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ
คำสำคัญ:
แนวทางพัฒนา, พฤติกรรมสุขภาพ, กลุ่มเสี่ยงโรคอ้วนบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคอ้วน และศึกษาแนวทางการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคอ้วน ตำบลนาเสียว อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณใช้เครื่องมือแบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 350 คน โดยวิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพใช้เครื่องมือ 1) แบบสัมภาษณ์ และ 2) ประเด็นสนทนากลุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมาย รวม 27 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมสุขภาพของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคอ้วน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับดังนี้ (1) ด้านการพักผ่อนนอนหลับ (2) ด้านการรับรู้คุณค่าสุขภาพ (3) ด้านการบริโภคอาหาร และ (4) ด้านการออกกำลังกาย 2) แนวทางการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคอ้วน ตำบลนาเสียว อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ มี 4 แนวทาง ดังนี้ 1) ควรจัดกิจกรรมแนะนำวิธีการผ่อนคลายจิตใจก่อนนอน เช่น ไหว้พระ สวดมนต์ นั่งสมาธิ 2) ควรจัดอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพที่ดี นำกลุ่มเสี่ยงโรคอ้วนมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีเจ้าหน้าที่ติดตามประเมินผลใกล้ชิด 3) จัดทำคู่มือและนำเสนอบุคคลสุขภาพดีต้นแบบ 4) ควรจัดกิจกรรมออกกำลังกายชุมชน มีผู้นำกิจกรรมออกกำลังกายต่อเนื่อง
References
กรมแพทย์ทหารเรือ. (2548). คู่มือการพยาบาลส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค. กรุงเทพฯ: กรมยุทธศึกษาทหารเรือ.
จารุณี เทียบโพธิ์. (2565). ความท้าทายที่พยาบาลชุมชนเผชิญในการจัดการโรคอ้วนในวัยผู้ใหญ่. วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์, 18(1), 99-114.
จิตตรัตน์ ตันเสนีย์ และคณะ. (2558). สุขภาพเพื่อการดำรงชีวิต. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
ณัฐกฤตา นันทะสิน. (2558) ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคและความภักดีต่ออาหารเพื่อสุขภาพของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารกระแสวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 16(29), 8-9.
ดวงกมล ปิ่นเฉลียว. (2561). การจัดการกับโรคอ้วนสำหรับพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน. วารสารพยาบาลตำรวจ, 10(2), 433-441.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปราณี จันธิมา และสมเกียรติ ศรีธาราธิคุณ. (2560). ผลของการสนับสนุนการจัดการตนเองต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคอ้วนลงพุง. พยาบาลสาร, 44(2), 162-171.
พิมพ์วีรา ละลำ และคณะ. (2565). ภาวะอ้วนลงพุงในผู้สูงอายุ : ผลกระทบและบทบาทพยาบาล. วารสารวิจัยการพยาบาลและสุขภาพ, 23(2), 13-27.
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเสียว. (2565). ข้อมูลและสถิติสภาวะผู้ป่วยโรคอ้วน. ชัยภูมิ: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเสียว.
วรรณี เจิมสุรวงศ์. (2564). “พลังบวก” กับ การออกกำลังกายและกีฬา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 19(2), 145-153.
วินิตา ไชยมงคล. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถของตนเอง เชาวน์อารมณ์ และความผูกพันในงาน : กรณีศึกษาบุคลากรของโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ). ปทุมธานี: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2555). สาเหตุจากโรคอ้วน. สืบค้น 15 กรกฎาคม 2564, จาก https://www.thaihealth.or.th/?p=231896
สุธี วรประดิษฐ์. (2553). การมีส่วนร่วมของชุมชนงานสารสนเทศ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดตราด. ตราด: สำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดตราด.
สุพิณญา คงเจริญ. (2560). โรคอ้วน : ภัยเงียบในยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 11(3), 22-29.
อัจฉรา นุตตะโร และคณะ. (2560). ผลการใช้ตัวแบบเชิงกระบวนการเพื่อลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่, 9(1), 196-197.
Bandura, A. (1986). Social foundations of thought and action: A social cognitive theory. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.
Carole A. P. & Mark I. J. (2018). Abdominal obesity and metabolic Syndrome: exercise as medicine? Retrieved November 28, 2022, From https://bmcsportsscimedrehabil.biomedcentral.com/articles/10.1186/s13102-018-0097-1
Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Rimkyo Yeo, So Ra Yoon and Oh Yoen Kim. (2017). The Association between Food Group Consumption Patterns and Early Metabolic Syndrome Risk in Non-Diabetic Healthy People. Clinical Nutrition Research, 6(3), 172-182.
Vroom, V. H., & Deci, E. L. (1970). Management and motivation. New York: Penguen Book.
Wood, R., & Bandura, A. (1989). Social cognitive theory of organizational management. Academy of Management Review, 14, 361-384.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น