การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับกระบวนการโพลยาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนสัดส่วน และร้อยละ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ผู้แต่ง

  • กฤษณา สร้อยทิพย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ชำนาญ ปาณาวงษ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

บริบทเป็นฐาน, กระบวนการโพลยา, ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. สร้างและหาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับกระบวนการโพลยา ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2. ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังเรียน และหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 75 และ 3. ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ ซึ่งเป็นการวิจัยและพัฒนา เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบ และแบบสอบถามความพึงพอใจ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพิจิตรพิทยาคม ได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม โดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบโดยการทดสอบค่าที (t-test)

ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการสร้างการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับกระบวนการโพลยา เรื่องอัตราส่วน สัดส่วนและร้อยละ จำนวน 3 แผน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x}= 4.71, S.D. = 0.34) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 75.03/75.56 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 75/75 2. นักเรียนที่เรียนโดยใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับกระบวนการโพลยา มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และมากกว่าร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับกระบวนการโพลยา ในระดับมากที่สุด
( gif.latex?\bar{x}= 4.57, S.D. = 0.64)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

คณิศร พานิช. (2563). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา เรื่อง ร้อยละและอัตราสวน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ 6 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาคณิตศาสตร์ศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 7-20.

ทัณฑวัต ปานพุ่ม และชมนาด เชื้อสุวรรณ. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับการเขียนบันทึกการเรียนรู้ เรื่องอัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความสุขในการเรียนของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพณิชยการธนบุรี. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 11(2), 105-108.

พลอยไพริน ศิริพัฒน์. (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้รูปแบบการแก้โจทย์ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา. วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา, 2(1), 23-33.

วิทวัส หมูคำ. (2560). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้วิธีการแก้โจทย์ปัญหาของโพลยา โรงเรียนบ้านตาก “ประชาวิทยาคาร” (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์). กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรกำแพงเพชร.

Crawford, M. L. (2001). Teaching contextually: Research, rationale, and techniques for improving student motivation and achievement in mathematics and science. Texas: CCI Publishing.

Darkwah, V.A. (2006). Undergraduate nursing student’level of thinking and self–efficacy in patient education in Context-based learning Program. Dissertation M.N. (Nursing) Alberta: Faculty of Nursing, University of Alberta. Canada.

Polya, G. (1957). How to Solve It. New York Management. New: John Wiley and Sons, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-06

How to Cite