ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผาสุกของผู้สูงอายุในภาคเหนือของประเทศไทย
คำสำคัญ:
ความผาสุกของผู้สูงอายุ,, การบริหารจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุ, การสนับสนุนทางสังคม, หลักภาวนา 4บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1. ศึกษาความผาสุกของผู้สูงอายุในภาคเหนือของประเทศไทย 2. ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผาสุกของผู้สูงอายุในภาคเหนือของประเทศไทย และ 3. นำเสนอแนวทางการส่งเสริมความผาสุกของผู้สูงอายุในภาคเหนือของประเทศไทย การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ โดยการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้สูงอายุในภาคเหนือที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูล โดย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอย ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 16 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1. ความผาสุกของผู้สูงอายุ โดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง และความผาสุกรายด้านทุกด้าน โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง 2. หลักอิทธิบาท 4 คือ การสนับสนุนทางสังคม, และการบริหารจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีอิทธิพลร่วมกันต่อความผาสุกของผู้สูงอายุ โดยที่ทั้ง 3 ปัจจัยสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรความผาสุกของผู้สูงอายุ ได้ร้อยละ 53.5 และ 3. แนวทางการส่งเสริมความผาสุกคือผู้สูงอายุควรปฏิบัติตามหลักภาวนา 4 เป็นประจำ ญาติพี่น้อง ชุมชนและสังคมควรให้การดูแลเอาใจใส่ผู้สูงอายุให้มาก และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรมีบทบาทที่สำคัญในการบริหารจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุ
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2565). กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. สถิติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2565. กรุงเทพฯ: กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2547). โครงการการประเมินผลการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพสำหรับผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
นวินดา นิลวรรณ และคณะ. (2563). การประยุกต์ใช้หลักภาวนา 4 ตามแนวพระพุทธศาสนาเถรวาทสู่สังคมผู้สูงอายุ. วารสารมหาจุฬานาครทัศน์, 7(3), 39-49.
บุญมาก มากสุข. (2558). การบริหารจัดการผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลบัวลอย อำเภอหนองแค สระบุรี (การค้นคว้าอิสระหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ระดับมหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
ปิยะกมล วิจิตรศิริ และบัวทอง สว่างโสภากุล. (2555). ความเป็นปราชญ์ การสนับสนุนทางสังคมและความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุ ในชมรมผู้สูงอายุวัดสารอด เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์, 38(2), 139-151.
พรพรม ไขชัยภูมิ และภรณี ศิริโชติ. (2553). ความต้องการสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุ ของเทศบาลตำบลโนนไทย อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา (การศึกษาอิสระหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น). ขอนแก่น: วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พระมหาเชาวฤทธิ์ ทรัพย์สวัสดิ์ และคณะ. (2562). การศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิต ผู้สูงอายุตามหลักภาวนา 4 กรณีศึกษา: ผู้สูงอายุบ้านห้วยหอย ตำบลธาตุทอง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(1), 58-72.
พระมหาบรรณ ปญฺญาธโร. (2565). การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามลักษณะทางพระพุทธศาสนา. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 5(2), 183-191.
ยุพา ทองสุข และคณะ. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพล ต่อความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุ. วารสารการพยาบาลและจิตเวช, 33(1), 95-110.
รักชนก ชูพิชัย. (2550). ความผาสุกของผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จังหวัดนนทบุรี (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาชุมชน). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ฤดีมาศ พุทธมาตย์ และคณะ. (2563). การสนับสนุนทางสังคมและความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชรา. วารสารสภาการพยาบาล, 35(1), 61-74.
สาคร เหลืองอ่อน. (2560) การบริหารงานสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุตามหลักภาวนา 4 ของเทศบาลตำบลเขาชีจรรย์ จังหวัดชลบุรี. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 1(3), 65-76.
สุรินทร์ นิยมางกูร. (2561). การบริหารจัดการงานสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 7(2), 21-36.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น