การติดตามและประเมินผลโครงการห่วงใยใส่ใจสุขภาพและการจัดการ บริหารความเสี่ยงด้านการเงินของผู้สูงอายุ ชุมชนประสานมิตร และบางยี่เรือ เขตธนบุรี ด้วยศาสตร์แบบบูรณาการ

ผู้แต่ง

  • พงษ์พันธ์ นารีน้อย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • อารีวรรณ เอี่ยมสะอาด มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • อัจฉรา แก้วน้อย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การติดตามและประเมินผล, การบริหารความเสี่ยง, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการติดตามและประเมินผลโครงการห่วงใยใส่ใจสุขภาพ และการจัดการบริหารความเสี่ยงด้านการเงินของผู้สูงอายุ ชุมชนประสานมิตรและบางยี่เรือเขตธนบุรี ด้วยศาสตร์แบบบูรณาการ ใน 5 ด้าน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เข้าร่วมโครงการห่วงใยใส่ใจสุขภาพ และการจัดการบริหารความเสี่ยงด้านการเงินของผู้สูงอายุ ชุมชนประสานมิตร และบางยี่เรือเขตธนบุรี ด้วยศาสตร์แบบบูรณาการ จำนวน 169 คน และใช้การสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ และแบบตรวจสอบรายการ สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป

ผลการวิจัยพบว่า การติดตามและประเมินผลโครงการห่วงใยใส่ใจสุขภาพ และการจัดการบริหารความเสี่ยงด้านการเงินของผู้สูงอายุ ชุมชนประสานมิตรและบางยี่เรือเขตธนบุรี ด้วยศาสตร์แบบบูรณาการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านผลกระทบ ด้านผลผลิต ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า และด้านกระบวนการ ตามลำดับ

References

กุศล สุนทราดา. (2557). จัดทำแนวทางการดำเนินการและกลไกระดับชาติในการขับเคลื่อน นโยบายการจ้างงานผู้สูงอายุ. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

ฐกฤต อัชณาพิพัฒ. (2560). การประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมโรงเรียนบ้านนาวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 1. สืบค้น 30 เมษายน 2565, จาก https://www.kroobannok.com/board_view.php?b_id=156025&bcat_id=16

บนนรา ชวนอาจ. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการแสดงความรับผิดชอบของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่อสังคม (CSR-DIW) (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการสิ่งแวดล้อม). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พระราชบัญญัติ สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562. (2562, 1 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136/ตอนที่ 57 ก. หน้า 8.

วรรณพันธุ์ อ่อนแย้ม. (2561). ปัจจัยความสำเร็จและการศึกษาปัญหาในการบริหารจัดการ โครงการวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล. Journal of Professional Routine to Research, 6, 1-8.

สมคิด พรมจุ้ย. (2550). เทคนิคการประเมินโครงการ (พิมพ์ครั้งที่ 5). นนทบุรี: จตุพร ดีไซน์.

สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2553). วิธีวิทยาการประเมิน : ศาสตร์แห่งคุณค่า (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2561). แผนอุดมศึกษาระยะยาว 20 ปี พ.ศ. 2561 - 2580. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and psychological measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-06

How to Cite