การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น ตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, แนวทางการส่งเสริม, การพัฒนาท้องถิ่นบทคัดย่อ
บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นของตำบลภูเขาทอง 2) แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยมี 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 352 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบแอลเอสดี ขั้นตอนที่ 2 การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น ในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย โดยด้านการรับผลประโยชน์ อยู่ในระดับปานกลาง รองลงมาคือ ด้านการตัดสินใจ ด้านการปฏิบัติ และด้านการประเมินผล อยู่ในระดับน้อย ตามลำดับ 2) แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น ได้แก่ จัดประชาคมในวันหยุดราชการ ประชาสัมพันธ์หลากหลายช่องทาง และส่งเสริมให้ประชาชนเป็นกรรมการในการจัดทำโครงการ โดยคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลประโยชน์เป็นหลัก
References
คมลักษณ์ ไชยยะ. (2565). การศึกษาชุมชนชานเมือง: กรณีชุมชนวัดช่องลม ตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา, 14(2), 68-88.
ชญาดา นิลสุวรรณ และ พิพัฒน์ ไทยอารีม. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนหมู่ที่ 6 ในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลบางรักพัฒนา อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
น้ำทิพย์ สุวรรณทอง. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลรำพัน (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปวีณา วีรยางกูร. (2554). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลอ้อมเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พลวุฒิ สะกิจ. (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำบริการสาธารณะของเทศบาลเมืองลำตาเสา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (การค้นคว้าอิสระหลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
เลิศชาย หอมหวล และพิชัยรัฐ หมื่นด้วง. (2564). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลนาอาน อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย. Journal of Roi Kaensarn Academi. 6(11), 210-222.
สถาพร วิชัยรัมย์. (2559). จริยธรรมสำหรับนักรัฐกิจ. บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
สมบัติ นามบุรี. (2562). ทฤษฎีการมีส่วนร่วมในงานรัฐประศาสนศาสตร์. วารสารวิจัยวิชาการ, 2(1), 183-197.
อัญมณี ทาทิตย์. (2563). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในเขตพื้นที่อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิชาเอกการจัดการทั่วไป). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper. & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น