การประยุกต์หลักพุทธธรรมกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองระดับท้องถิ่นของประชาชนในจังหวัดนครสวรรค์
คำสำคัญ:
การประยุกต์, หลักพุทธธรรม, การมีส่วนร่วมทางการเมือง, อปริหานิยธรรม 7บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. การมีส่วนร่วมทางการเมืองระดับท้องถิ่น2. ปัจจัยที่ส่งผลกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองระดับท้องถิ่น และ 3. ประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองระดับท้องถิ่นของประชาชนในจังหวัดนครสวรรค์ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน และการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนในจังหวัดนครสวรรค์ 400 กลุ่มตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า 1. การมีส่วนร่วมทางการเมืองระดับท้องถิ่นของประชาชน โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( =3.46) 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองระดับท้องถิ่นของประชาชน ได้แก่ ด้านระบบการเมือง อยู่ในระดับมาก ( =3.97) และอยู่ในระดับมากทุกด้าน ดังนี้ ด้านสภาพแวดล้อมทางการเมือง ( =3.92) ด้านวัฒนธรรมทางการเมือง ( =3.90) และด้านอุดมการณ์ทางการเมือง ( =3.77) ทั้ง 4 ปัจจัยสามารถอธิบายความผันแปรได้ร้อยละ 44.6 และ 3. แนวการประยุกต์หลักอปริหานิยธรรม 7 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองระดับท้องถิ่นของประชาชนในจังหวัดนครสวรรค์ ดังนี้ 1) การกระตุ้นให้เข้าร่วมกิจกรรมในรูปแบบต่าง ๆ 2) สร้างความรับผิดชอบต่อหมู่คณะ สำนึกรักชุมชนที่ตนอยู่อาศัย 3) ยึดกฎข้อบังคับ เป็นแนวทางในการยึดถือปฏิบัติสร้างความมีวินัย 4) ให้ความสำคัญกับผู้นำที่เป็นแบบอย่าง 5) ส่งเสริมประชาชนให้ได้รับสิทธิ เสรีภาพขั้นพื้นฐาน โดยเสมอภาคและเท่าเทียมกัน 6) เคารพเสียงข้างมาก ยึดมั่นระบอบประชาธิปไตย 7) การสนับสนุนคนดี มีคุณธรรมจริยธรรม
References
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2559). การกล่าวหาการชี้มูลความผิดข้อทักท้วงและพฤติกรรมการกระทำความผิดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น.
ชุมพล เพ็งศิริ. (2564). การส่งเสริมความเข้มแข็งการเมืองภาคประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 10(2), 125-136.
ทวีศิลป์ กุลนภาดล. (2550). การพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการวางแผนชุมชนเพื่อการบูรณาการสู่การวางแผนพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
บุศรา โพธิสุข. (2558). การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชน : ศึกษาเฉพาะกรณีตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาเอกกวิน ปิยวีโร (อะซิ่ม). (2564). การนำหลักพุทธธรรมาภิบาลไปประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ไพบูลย์ สุขเจตนี. (2563). การพัฒนาความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อนักการเมือง ระดับท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วัชรมน จันรอง. (2564). การมีส่วนร่วมทางการเมืองระดับท้องถิ่นของประชาชนในองค์การบริหารส่วน ตำบลบ้านเล่า อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ. Journal of Modern Learning Development, 6(5), 142-154.
สำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้งประจำจังหวัดนครสวรรค์ (2563). สืบค้น 10 มกราคม 2566, จาก https://www.ect.go.th/nakhonsawan/main.php?filename=index.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์.
อรทัย ก๊กผล. (2552). คู่คิด คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชนสำหรับนักบริหารท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์.
Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis (2nd Edition). New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น