ประสิทธิผลการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • สุพล ศิริ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • บุญทัน ดอกไธสง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พิเชฐ ทั่งโต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุ, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และนำเสนอการเพิ่มประสิทธิผลการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยการบูรณาการหลักพุทธธรรม รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้ แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 392 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้การวิเคราะห์การถดถอยแบบขั้นตอน การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 19 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 9 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิผลการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก 2. ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ พบว่า ปัจจัยการบริหาร ส่งผลต่อประสิทธิผลการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ได้ร้อยละ 45.7 หลักภาวนา 4 ส่งผลต่อประสิทธิผลการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้ร้อยละ 57.2 3. การเพิ่มประสิทธิผลการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยการบูรณาการหลักพุทธธรรม พบว่า ประสิทธิผลการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ มีปัจจัยพื้นฐาน คือ ปัจจัยการบริหาร นำมาบูรณาการหลักพุทธธรรม คือหลักภาวนา 4 ประกอบด้วย กายภาวนา การพัฒนาด้านร่างกาย สีลภาวนา การพัฒนาด้านพฤติกรรม จิตตภาวนา การพัฒนาด้านจิตใจ ปัญญาภาวนา การพัฒนาด้านปัญญา

References

พระครูปลัดชาติชาย ญาณโสภโณ (ขุมเงิน). (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพผู้สูงอายุ ของรัฐบาลในจังหวัดลำพูน. วารสารวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 4(2), 16-28.

พระครูปลัดสิทธิชัย วิสุทฺโธ (หว่านผล). (2564). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์) พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูศรีเมธาภรณ์ (ประภาส ฐิตธมฺโม). (2564). การพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักพุทธบูรณาการสำหรับผู้สูงอายุของพระสงฆ์ในจังหวัดพิจิตร (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ) พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2554). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 34). กรุงเทพฯ: เอส.อาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2560). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: บริษัท ทีคิวพีจํากัด.

รศรินทร์ เกรย์ และคณะ. (2556). มโนทัศน์ใหม่ของนิยามผู้สูงอายุ : มุมมองเชิงจิตวิทยาสังคมและสุขภาพ. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

ศากุล ช่างไม้. (2550). สังคมไทยกับสถานการณ์ผู้สูงอายุในปัจจุบันและอนาคต. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-01

How to Cite