ภาวะผู้นำเชิงพุทธของนักการเมืองท้องถิ่นที่มีผลต่อความคาดหวังของประชาชนในจังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • เอนก ณ เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ธัชชนันท์ อิศรเดช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุรพล สุยะพรหม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำเชิงพุทธ, นักการเมืองท้องถิ่น, ประชาชน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาภาวะผู้นำทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่น 2. เพื่อศึกษาองค์ประกอบการพัฒนาภาวะผู้นำทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่น 3. เพื่อนำเสนอการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงพุทธทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดชลบุรี ระเบียบวิธีการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ จากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน ด้วยสูตรการคำนวณของทาโร่ ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูล จำนวน 18 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่น พบว่า นักการเมืองมีความเสียสละ มีจิตอาสาและยึดประโยชน์ของประชาชน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. องค์ประกอบการพัฒนาภาวะผู้นำทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก องค์ประกอบการพัฒนาที่ส่งผล ได้แก่ ด้านความดีงาม ยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาลเป็นแบบอย่างที่ดี ด้านความเหมาะสม ปฏิบัติงานด้วยความเหมาะสมมีส่วนร่วมทางการเมืองและด้านความถูกต้อง ปฏิบัติตนตามกฎหมายแก้ปัญหาด้วยความโปรงใสเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม 3. การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงพุทธทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่นตามหลักฆราวาสธรรม 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านสัจจะมีความซื่อสัตย์ ปราศจากการคอรัปชั่น ด้านทมะ มีความหนักแน่นปลูกฝังให้จงรักภักดีต่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ด้านจาคะ มีความเสียสละพร้อมเพรียงร่วมมือร่วมใจในการปฏิบัติหน้าที่ และด้านขันติ มีความอดทน ขยันหมั่นเพียรสร้างขวัญกำลังใจให้กับประชาชน

References

ชุติพนธ์ วงษ์อมรวิทย์. (2563). การเสริมสร้างจริยธรรมทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดนครราชสีมา (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เทศบาลเมืองจังหวัดชลบุรี. (2562). สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎรเทศบาลเมืองจังหวัดชลบุรี. สืบค้น 16 มีนาคม 2565, จากhttps://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/

ไทยพีบีเอส. (2564). จับตา 2 อบต. ใน จ.ชลบุรี แข่งขันรุนแรง. สืบค้น 15 พฤศจิกายน 2566, จาก https://www.thaipbs.or.th/news/content/309901

ธิติวุฒิ หมั่นมี. (2561). ภาวะผู้นำการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 7(3), 298-314.

พรเศรษฐี วุฒิปัญญาอิสกุล. (2563). การบูรณาการหลักธรรมธรรมาธิปไตยเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำทางการเมืองของนักการเมืองในจังหวัดนครราชสีมา (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สยามรัฐ. (2564). ความสำคัญของจริยธรรมนักการเมืองท้องถิ่น. สืบค้น 15 กรกฎาคม 2566, จาก https://siamrath.co.th/n/225057

Yamane, T. (1967). Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harpen and Row.

Silverman, D. (2000). Doing Qualitative Research: A Practical Handbook. London: Sange.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-12

How to Cite