การประยุกต์หลักอปริหานิยธรรมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการ เมืองของประชาชน จังหวัดลพบุรี
คำสำคัญ:
หลักอปริหานิยธรรม, การมีส่วนร่วมทางการเมือง, จังหวัดลพบุรีบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชน 3. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะปัจจัยที่มีผลต่อการการประยุกต์หลักอปริหานิยธรรมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนเทศบาลตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 389 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 11 รูปหรือคน แล้ววิเคราะห์คำให้สัมภาษณ์ของผู้ให้ข้อมูลสำคัญตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่าปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือนมีระดับความคิดเห็นที่มีต่อต่อส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน โดยภาพรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้ ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลอื่น ๆ ไม่พบความแตกต่าง 3. ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะประชาชนขาดความเข้าใจในหลักอปริหานิยธรรม ควรให้ความรู้ความเข้าใจถึงหลักอปริหานิยธรรมว่ามีความสำคัญ
References
กันต์ญาณัฐ อัษฎาวรพัฒน์. (2560). การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับท้องถิ่นของสตรีในเขตอำเภอเมืองทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช (ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชารัฐศาสตร์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
โกวิทย์ พวงงาม. (2553). การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.
จินตนา จงฤกษ์งาม. (2559). การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลแจ้งซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง (สารนิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์การปกครอง). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย.
ชไมพร เหล่าพงศ์เจริญ. (2551). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของข้าราชการครู: ศึกษากรณีโรงเรียน กันทรลักษณ์วิทยา จังหวัดศรีสะเกษ. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ปริญญา เทวานฤมิตรกุล. (2541). การมีส่วนร่วมในทางการเมือง. กรุงเทพฯ: สารศึกษา.
พระมหาวิษณุ วิสารโท (พานนนท์). (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบริหารงานตามหลักอปริหานิยธรรมของเทศบาลตำบลโนนสะอาด อำเภอศรีบุญเรื่อง จังหวัดหนองบัวลำภู (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสำราญ นนทพุทธิ (ทะสูนย์). (2558). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาล ตำบลร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อนงค์รัตน์ โรจน์สุรัญกิจ. (2558). การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่น ของสตรีในเขตเทศบาลเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน (ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น