การบูรณาการหลักไตรสิกขาเพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี
คำสำคัญ:
หลักไตรสิกขา, การพัฒนา, คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพของคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ 2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และ 3. นำเสนอการบูรณาการหลักไตรสิกขาเพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ซึ่งการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 312 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 10 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุโดยภาพรวมและรายด้าน ประกอบด้วย การส่งเสริมการพัฒนาผู้สูงอายุ การบริหารจัดการเพื่อพัฒนางานด้านผู้สูงอายุและการพัฒนาบุคลากรด้านผู้สูงอายุ การเตรียมความพร้อมของประชากรเพื่อวัยผู้สูงอายุ การพัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านผู้สูงอายุ และการคุ้มครองทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุ อยู่ในระดับมาก 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ พบว่า การพัฒนาผู้สูงอายุและหลักไตรสิกขา มีความสัมพันธ์ทางบวกต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และ 3. การบูรณาการหลักไตรสิกขาเพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ พบว่า การพัฒนาผู้สูงอายุ ประกอบด้วย การเตรียมความพร้อมของประชากรเพื่อวัยสูงอายุ การส่งเสริมการพัฒนาผู้สูงอายุการคุ้มครองทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุ การบริหารจัดการเพื่อพัฒนางานด้านผู้สูงอายุและการพัฒนาบุคลากรด้านผู้สูงอายุ การพัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านผู้สูงอายุ และบูรณาการหลักพุทธธรรมาภิบาล คือ หลักไตรสิกขา ได้แก่ 1. ศีล ด้านพฤติกรรม 2. สมาธิ ด้านจิตใจ และ 3. ปัญญา ด้านความรู้
References
กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2561). โครงการคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงตามแนวทางประชารัฐ. กรุงเทพฯ: กองพัฒนาและส่งเสริมการบริหารงานท้องถิ่น.
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2566). สังคมผู้สูงอายุในปัจจุบันและเศรษฐกิจในประเทศไทย. สืบค้น 26 มิถุนายน 2566, จาก https://www.dop.go.th/th/know.
จุฑารัตน์ แสงทอง. (2560). สังคมผู้อายุ (อย่างสมบูรณ์) ภาวะสูงวัยอย่างมีคุณภาพ. วารสารรูสมิแล, 38(1), 6-28.
ทัศมาวดี ฉากภาพ. (2564). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการพัฒนาสุขภาวะของผู้สูงอายุในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(2), 227-239.
นวินดา นิลวรรณ และคณะ. (2563). การประยุกต์ใช้หลักภาวนา 4 ตามแนวพระพุทธศาสนาเถรวาทสู่สังคมผู้สูงอายุ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(3), 38–49.
พระครูใบฎีกาอภิชาต ธมฺมสุทฺโธ (พรสุทธชัยพงศ์). (2562). กระบวนการพัฒนาพฤฒพลังของผู้สูงอายุด้วยการใช้ชุดกิจกรรมภาวนา 4. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6 (10), 5163 – 5625.
ศูนย์ข้อมูลประเทศไทย. (2565). รายงานสถิติจังหวัดปทุมธานี. สืบค้น 22 มกราคม 2566, จากhttp://pathumthani.kapook.com.
สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย. (2558). การจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
เอกพล เคราเซ. (2562). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ: ถอดรหัสจากผู้รู้และผู้เป็น. วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, 27(2), 131–162
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น