รูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยของวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • พระสมพล ยสชาโต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ประเสริฐ ธิลาว มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระครูสุธีกิตติบัณฑิต (กฤษฎา กิตฺติโสภโณ) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การจัดการ, ขยะมูลฝอยของวัด

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยของวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 25 รูปหรือคน เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก และการจัดการสนทนากลุ่มกับผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 9 รูปหรือคน แล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาโดยการพรรณนาโวหาร

ผลการวิจัยพบว่า ด้านการลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้น ภายในบริเวณพื้นที่ของวัดต้องจัดตั้งถังขยะมูลฝอยแยกประเภท มีการประชาสัมพันธ์ให้ใช้วัสดุที่มีประโยชน์ เช่น งานศพให้ใช้พัดลม ผ้าห่มหรืออย่างอื่นแทนดอกไม้หรือพวงหรีด ด้านการนำมาใช้ใหม่ ภายในวัดได้นำวิธีการคัดแยกขยะ เช่น ขวดพลาสติก ขวดแก้ว แล้วนำไปขายบ้าง จัดทำโครงการผ้าป่าขยะรีไซเคิลบ้าง ด้านการนำขยะมาแปรรูป จะมีการตั้งถังขยะรีไซเคิลพลาสติกขวดน้ำ ขวดแก้ว กระดาษให้มากขึ้น แล้วนำไปแปรรูปทางวัดมีโรงเก็บขยะ ด้านการซ่อมแซ่มหรือแก้ไข วัดมีสถานที่มีอาคารในการซ่อมแซมและมีช่างที่ซ่อมอุปกรณ์ต่าง ๆ โต๊ะ ตู้ เตียง ช่วยกันซ่อมแซมเพื่อนำมาใช้ได้อีก ด้านการหลีกเลี่ยงการใช้วัสดุที่ทำลายยาก ตั้งถังขยะเฉพาะเป็นถังขยะสีแดง ทิ้งขยะประเภทมีพิษมาทิ้งรวมในจุดเดียว แล้วนำไปให้หน่วยงานนำไปกำจัด

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2562). คู่มือแนวปฏิบัติการลด และคัดแยกขยะมูลฝอย ในหน่วยงานภาครัฐ ภายใต้โครงการ ทำความดีด้วยหัวใจ ลดภัยสิ่งแวดล้อม. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: บริษัท ฮีซ์ จำกัด.

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2561). วัดกับการจัดการสิ่งแวดล้อม. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2565, จากhttps://datacenter.deqp.go.th/service-portal/g-green/Thailandgreener ligion/bhudist-andenvironment.

จอมจันทร์ นทีวัฒนา และวิชัย เทียนถาวร. (2560). ความรู้และทัศนคติที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการลดขยะชุมชนแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 25(2), 316 - 330.

ดวงสมร ฟักสังข์. (2555). หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการขยะมูลฝอยของครัวเรือนในชุมชนเขตดุสิตของกรุงเทพมหานคร (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: คณะวิทยาการจัดการ.

เดชา บัวเทศ และนิเทศ สนั่นนารี. (2558). รูปแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมในวัดเพื่อการดูแลสุขภาพพระสงฆ์จังหวัดสระบุรี. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 15(2), 77-85.

พระบุญธรรม ชุ่มเย็น และคณะ. (2561). รูปแบบการพัฒนาศูนย์เรียนรู้การจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมของวัด จังหวัดปทุมธานี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(1) 332 - 343.

พระอนุชิต นางาม (อตฺถยุตฺโต) และสุนันทา เลาวัณย์ศิริ. (2564). การสำรวจองค์ประกอบของขยะมูลฝอยของวัดสามประเภท. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 10(2), 108-117.

พัลลภ สิงหเสนี. (2561). แนวทางการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชนอย่างยั่งยืนในรูปแบบประชารัฐ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

ไพบูลย์ แจ่มพงษ์. (2555). การใช้ประโยชน์และการจัดการขยะมูลฝอยของครัวเรือนประชาชน ตำบลสวนหลวง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

วิทูร เอียการนา และดิฐา แสงวัฒนะชัย. (2563). การศึกษาแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยภายในเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 15(2), 87 - 99.

สิตศรรษ์ วงษ์อนันต์ และคณะ. (2561). การศึกษาการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในหมู่ 10 ตำบลขามใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสรรพสิทธิประสงค์, 2(3), 32 - 47.

สันชัย พรมสิทธิ์ และคณะ. (2562). รูปแบบการจัดการขยะกับความเหมาะสมของพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(2), 459 - 483.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-12

How to Cite