การพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยการประยุกต์ตามหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา
คำสำคัญ:
การจัดการท่องเที่ยว, เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก, หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. เพื่อศึกษาการจัดการท่องเที่ยวในเขตพัฒนาพิเศษ 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการท่องเที่ยวในเขตพัฒนาพิเศษ 3. เพื่อนำเสนอการพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยการประยุกต์ตามหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 399 คน ใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.960
ผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดการท่องเที่ยวในเขตพัฒนาพิเศษ พบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการท่องเที่ยวในเขตพัฒนาพิเศษ พบว่าปัจจัยส่งเสริมการท่องเที่ยวส่งผลต่อการจัดการท่องเที่ยวในเขตพัฒนาพิเศษ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และหลักอปริหานิยธรรม 7 ส่งผลต่อการจัดการท่องเที่ยวในเขตพัฒนาพิเศษ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. การพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวในเขตพัฒนาพิเศษ โดยการนำหลักอปริหานิยธรรม 7 เข้ามาประยุกต์เพื่อพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวคือ หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ พร้อมเพรียงกันประชุม ไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่ควรบัญญัติ ให้ความเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้ใหญ่การท่องเที่ยว เคารพสิทธิมนุษยชน ให้ความเคารพสถานที่ ดูแลเอาใจใส่แก่ผู้มาเยือนนอกจากนั้น ยังมีการเสริมสร้างด้วยปัจจัยด้านการท่องเที่ยว ประกอบด้วย สิ่งดึงดูดใจ กิจกรรม การเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวก และที่พัก เพื่อพัฒนาสิ่งที่เป็นพื้นฐานเพื่อไปสู่สิ่งที่เลอค่า
References
กชนิภา อินทสุวรรณ์. (2564). รูปแบบประสิทธิผลการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยการบูรณาการหลักพุทธธรรมของจังหวัดสมุทรสาคร (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ทัศนีย์ ปิยะเจริญเดช. (2564). รูปแบบการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวบนพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษในจังหวัดสงขลา (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์).พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ธงชัย คล้ายแสง. (2562). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงกีฬาโดยการบูรณาการหลักพุทธธรรมของจังหวัดบุรีรัมย์ (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ธารนี นวัสนธี และคณะ. (2563) การบูรณาการรูปแบบการท่องเที่ยวจากฐานอัตลักษณ์ท้องถิ่นสู่การท่องเที่ยววิถีไทยอย่างสร้างสรรค์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารเซนต์จอห์น, 23(32), 351-368.
พระมหาธีรวัฒน์ เสสปุญฺโญ (สันยศติทัศน์). (2564). การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงราย (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เสกสรรค์ สนวา และคณะ. (2563). การจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามวิถีชีวิตของคนในชุมชน. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 4(1), 259 -276.
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2561). แผนปฏิบัติการการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการ นโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระยอง. (2564). จำนวนประชากรตามทะเบียนราษฎร์ จำแนกเพศ รายอายุ ณ กรกฎาคม 2564. สืบค้น 9 มกราคม 2566, จาก : https://www.rayonghealth.com /web/stat.php.
Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis (3rd ed). New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น