อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตย

ผู้แต่ง

  • อรัญ พันธุมจินดา นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

รัฐธรรมนูญ, อำนาจอธิปไตย, ประชาธิปไตย

บทคัดย่อ

รัฐสมัยใหม่ที่มีรูปแบบทางการปกครองหรือระบอบการปกครองที่ถือประชาชนเป็นใหญ่ โดยเรียกระบอบการปกครองนั้นว่า “ประชาธิปไตย” ซึ่งมีประชาชนเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐ ปัจจุบันรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางและนำไปใช้เป็นระบอบการปกครองในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ประเทศที่ปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้น การแสวงหาเจตจำนงร่วมกันของประชาชนเพื่อนำมากำหนดโครงสร้างความสัมพันธ์ของสถาบันทางการเมืองและองค์กรต่าง ๆ ที่ใช้อำนาจรัฐ ทั้งองค์กรที่ใช้อำนาจในทางนิติบัญญัติ องค์กรที่ใช้อำนาจในทางบริหาร และองค์กรที่ใช้อำนาจในทางตุลาการ รวมทั้งการกำหนดหลักเกณฑ์ที่จะปกป้องคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญในระบอบประชาธิปไตย และข้อตกลงระหว่างประชาชนนั้น คือ “สัญญาประชาคม” เมื่อประชาชนได้ร่วมกันกำหนดแนวทางในการปกครองประเทศตามเจตจำนงร่วมกันแล้ว การจัดให้มี “รัฐธรรมนูญ” เพื่อใช้เป็น “กฎหมายสูงสุดของประเทศ” จึงเป็นกระบวนการสำคัญที่รัฐจะต้องดำเนินการในขั้นตอนต่อไป ดังนั้นในการใช้อำนาจสูงสุดในการก่อตั้งองค์กรทางการเมือง โดยจัดให้มีรัฐธรรมนูญหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการ “สถาปนารัฐธรรมนูญ” จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับทุกประเทศ ผู้ที่มีอำนาจในการจัดให้มีรัฐธรรมนูญจึงต้องเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดของรัฐ หรือผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยที่แท้จริง และในประเทศที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ผู้ที่เป็นเจ้าของอำนาจอธิไตยที่แท้จริงนั้นคือ “ประชาชน”

References

กิตติศักดิ์ ปรกติ. (2546). การปฏิรูประบบกฎหมายไทยภายใต้อิทธิพลยุโรป. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. (2556). หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชน. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

ปรีดี เกษมทรัพย์. (2541). นิติปรัชญา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พรชัย เลื่อนฉวี. (2545) กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

มานิตย์ จุมปา. (2557). หลักกฎหมายรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ: นิติธรรม.

สุรพล สุยะพรหม. (2558). ความคิดทางการเมือง: ประชาธิปไตย ตามแนวคิดพระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). สืบค้น 2 สิงหาคม 2566, จาก https://www.mcu.ac.th/article/detail/14340

อมร จันทรสมบูรณ์. (2539). การปฏิรูปการเมือง คอนสติติวชั่นแนลลิสม์ ทางออกของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายศึกษา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01

How to Cite