ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • สุพล ศิริ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • บุญทัน ดอกไธสง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พิเชฐ ทั่งโต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, การพัฒนาคุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบูรณ์ 2. ศึกษาการบูรณาการหลักพุทธธรรมกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 392 คน หาขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยสูตรของยามาเน่ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 5 กลุ่ม รวม 19 รูปหรือคน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบสนทนากลุ่มเฉพาะ แบบสอบถาม การวิเคราะห์โดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยแบบขั้นตอน วิเคราะห์โดยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท นำเสนอข้อมูลโดยเขียนเป็นความเรียง

ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิผลการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบูรณ์ ทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วย 1. ด้านร่างกาย 2. ด้านจิตใจ 3. ด้านสัมพันธภาพทางสังคม และ 5. ด้านสิ่งแวดล้อม โดยการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุอาศัยปัจจัยพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ คือ ปัจจัยการบริหาร นอกจากนั้นยังบูรณาการหลักภาวนา 4 มาใช้เพื่อเป็นตัวส่งเสริมให้เกิดประสิทธิผลการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบูรณ์ มากยิ่งขึ้น โดยการบูรณาการหลักพุทธธรรมมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ ปัจจัยการบริหาร + พุทธบูรณาการหลักภาวนา 4 = ประสิทธิผลการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ

References

คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานผู้สูงอายุแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี (2545). แผนพัฒนาผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 พ.ศ. 2546-2564. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

เจริญ นุชนิยม. (2560). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้วยพุทธบูรณาการ (ดุษฎีนิพนธพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

นวินดา นิลวรรณและคณะ. การประยุกต์ใช้หลักภาวนา 4 ตามแนวพระพุทธศาสนาเถรวาทสู่สังคมผู้สูงอายุ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(3), 39-49.

ปาริชาติ ชาลีเครือ. (2561). ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์, 6(4), 1621-1632.

พระสุนทรกิตติคุณ (เดชา อินฺทปญฺโญ). (2560). หลักพุทธธรรมกับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมในผู้สูงอายุ วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 3(1), 11-25.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (2560). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: บริษัท ทีคิวพีจํากัด.

ศุภลักษณ์ ช่วยชูหน, เพ็ชราภรณ์ ชัชวาลชาญชนกิจ. (2564). องค์ประกอบและปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดชุมพร. วารสารสหวิทยาการวิจัย. 10(1), 35-47.

สมโภชน์ อเนกสุข และ กชกร สังชาติ. (2557). รูปแบบการดำารงชีวิตของผู้สูงวัยอายุเกิน 100 ปี จังหวัดชลบุรี. วารสารศึกษาศาสตร์. 17(1), 95-107.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-02

How to Cite