คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อความหลงใหลในการทำงานของ คนเจนเนอเรชั่นวาย ในธุรกิจโลจิสติกส์ชั้นนำระหว่างประเทศ

ผู้แต่ง

  • พชรณัฏฐ์ พลังชนะชัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • ชัยยุทธ ชิโนกุล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิตในการทำงาน, ความหลงใหลในการทำงาน, เจนเนอเรชั่นวาย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นต่อคุณภาพชีวิตในการทำงาน ระดับความคิดเห็นต่อความหลงใหลในการทำงาน ปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อความหลงใหลในการทำงาน ของคนเจนเนอเรชั่นวายในธุรกิจโลจิสติกส์ชั้นนำระหว่างประเทศ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม มีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เป็นพนักงานเจนเนอเรชั่นวาย ซึ่งเกิดในปีพ.ศ. 2524 – 2539 (อายุ 24 - 40 ปี) จำนวน 150 คน ใช้การวิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน

ผลการศึกษาพบว่า 1. คุณภาพชีวิตในการทำงานของกลุ่มตัวอย่างพนักงานที่ปฏิบัติงานในองค์การที่ประกอบธุรกิจด้านโลจิสติกส์ ประจำสำนักงานใหญ่ ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2. ปัจจัยความหลงใหลในการทำงานของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับปานกลาง 3. ปัจจัยที่มีผลต่อความหลงใหลในการทำงานสูงที่สุดคือ ปัจจัยด้านการบูรณาการทางสังคมหรือการทำงานร่วมกับผู้อื่น รองลงมาได้แก่ ด้านความสมดุลระหว่างการทำงานกับชีวิตส่วนตัว 4. เพศ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ย มีนัยสำคัญทางสถิติต่อความหลงใหลในการทำงาน

References

เฉลิมขวัญ เมฆสุข. (2560). ปัจจัยคุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานระดับปฏิบัติการ บริษัท สยามฟิตติ้งส์ จำกัด. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 9(1), 33 – 50.

เทคซอล ทีม. (2564). SEAC ยกระดับ Business – People – Culture ในองค์กร ชวนผู้นำเรียนรู้ NEW Perspective กับ 3 สถาบันชั้นนำระดับโลก. สืบค้น 7 กรกฎาคม 2566, จาก https://techsauce.co/pr-news/seac-new-perspective-about-business-people-culture

นิภาพร นิกรศิริ. (2558). คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อความรักและพลังขับเคลื่อนองค์การของบุคลากรผู้มีศักยภาพสูง กรณีศึกษา: องค์กรภาคเอกชนในประเทศไทยที่ใช้ระบบการบริหารจัดการบุคลากรผู้มีศักยภาพสูง. วารสารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ, 7(2), 4 - 19.

ปิยะวัฒน์ เจริญศักดิ์. (2564). ความสุขและความผูกพันในการทำงานของพริตตี้ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พจนีย์ ฐอสุวรรณ. (2549). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้บรรยากาศองค์การการรับรู้ความสามารถของตนเองความเครียด และคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าแห่งหนึ่ง (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พีระศิลป์ รัตน์หิรัญกร. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันธ์ต่อองค์การ: กรณีศึกษาสำนักงานหลักประกันคุณภาพแห่งชาติ สำนักงานใหญ่ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วาสินี ขันแก้วหล้า. (2553). คุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรสังกัด โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาส่งเสริมสุขภาพ). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิทยา แสงมณี. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของตำรวจระดับชั้นประทวนสังกัดกองบังคับการตำรวจจราจรกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ). นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ศศิกานต์ โกมินทร์. (2555). คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรในสังกัดสำนักงานสรรพามิต พื้นที่ชลบุรี 2 (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการจัดการ). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2563). ค้าปลีกและร้านอาหาร สู้โควิด-19 เร่งปรับตัวสู่ออนไลน์ ชดเชยรายได้หลักที่หายไป. สืบค้น 7 กรกฎาคม 2566. จากhttps://www.kasikornresearch.com/th/analysis/kecon/business/Pages/z3093.aspx

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์. (2563). TRANSPORT & LOGISTICS 2020: อีไอซีวิเคราะห์ธุรกิจขนส่งพัสดุในปี 2020 มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องท่ามกลางการแข่งขันที่เข้มข้นจากแรงกดดันด้านราคา. สืบค้น 7 กรกฎาคม 2566. จาก https://www.scbeic.com/th/detail/product/6563

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). ยุทธศาสตร์ชาติ. สืบค้น 7 กรกฎาคม 2566. จากhttp://nscr.nesdc.go.th/wp-content/uploads/2022/03/PPT-NS-September-2563.pdf

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). รายงานโลจิสติกส์ของประเทศไทยประจำปี 2563. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สุกิจ เฮ็งเจริญ. (2551). คุณภาพชีวิตในการทำงานของนายทหารชั้นประทวนกองพันทหารม้า ในกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

เอกลักษณ์ ชุมภูชัย. (2561). การศึกษาคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การ กรณีศึกษา พนักงานที่ทำงานอยู่ในบริษัท สกิลพาวเวอร์เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด (แมนพาวเวอร์ สาขาลำพูน). (การค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

Awan, M.A. & Sarfraz, N. (2013). The Impact of human capital on Company performance and the mediating effect of employee’s satisfaction. Journal of Business and Management, 8(2), 76 - 82.

Delamotte, Y. & Takezawa, I. (1984). Quality of Working Life in International Perspective. Geneva: International Labor Office.

Huse, E.F. & Cummings, T.G. (1985). Organizational Development and Change. Minnesota: West.

Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607 - 610.

Walton, R.E. (1974). Improving the quality of work life. Harvard Business Review 52, 15(5), 12 -16.

Zigarmi, D. et al. (2009). Beyond engagement: Toward a framework and operational definition for employee work passion. Human Resource Development Review, 8, 300 – 326.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-01

How to Cite