การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมนวัตกรรมการบริหารงานของ การประปานครหลวง

ผู้แต่ง

  • อดิศักดิ์ ปิยะสุวรรณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • บุญทัน ดอกไธสง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ธัชชนันท์ อิศรเดช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

หลักอิทธิบาท 4, นวัตกรรมการบริหารงาน, การประปานครหลวง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาการส่งเสริมนวัตกรรมการบริหารงาน 2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการส่งเสริมนวัตกรรมการบริหารงาน และ 3. เพื่อนำเสนอรูปแบบการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมนวัตกรรมการบริหารงานของการประปานครหลวง เป็นการวิจัยโดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี มีทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรในสังกัดการประปานครหลวง สำนักงานใหญ่ ใช้การสุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร ได้ขนาดตัวอย่าง จำนวน 349 คน และ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 18 รูปหรือคน การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเป็นเครื่องมือ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา โดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน และศึกษาภาคสนามด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก

ผลการวิจัยพบว่า 1. การส่งเสริมนวัตกรรมการบริหารงานของการประปานครหลวง พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการส่งเสริมนวัตกรรมการบริหารงานของการประปานครหลวง พบว่า 1) การบริหารจัดการ และอิทธิบาท 4 ส่งผลต่อการส่งเสริมนวัตกรรมการบริหารงานของการประปานครหลวง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3. รูปแบบการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมนวัตกรรมการบริหารงานของการประปานครหลวง โดยมีการบูรณาการหลักอิทธิบาท 4 เพื่อส่งเสริมนวัตกรรมการบริหารงาน คือ ฉันทะ: การมีใจรักในงาน วิริยะ: การสู้งาน จิตตะ: การใส่ใจในงานที่ทำ วิมังสา: การทำงานด้วยปัญญา และนำหลักการบริหารจัดการมาเป็นพื้นฐานเพื่อส่งเสริมนวัตกรรมการบริหารงาน คือ การวางแผน การจัดองค์การ การบังคับบัญชาสั่งการ การประสานงาน และการควบคุม

References

การประปานครหลวง. (2562). รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำปี 2562. กรุงเทพฯ: การประปานครหลวง.

การประปานครหลวง. (มปท.). แผนวิสาหกิจ กปน. ฉบับที่ 5 (ปี 2563–2565). กรุงเทพฯ: การประปานครหลวง.

คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก.

จรูญศักดิ์ สุนทรเดชา. (2562). การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ธงชัย คล้ายแสง. (2562). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงกีฬาโดยการบูรณาการหลักพุทธธรรมของจังหวัดบุรีรัมย์ (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาศรีอรุณ คำโท. (2559). พุทธวิธีทางการบริหารสำหรับองค์กรภาครัฐสมัยใหม่. วารสารวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 3(7), 1-10.

เมลิสา มหาพล และกมลพร กัลยาณมิตร. (2564). การสร้างนวัตกรรมการบริหารองค์การภาครัฐ. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 7(1), 295-296.

Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis (3rd ed). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-02

How to Cite