การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น อิงฐานสมรรถนะ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมปีที่ 5 โรงเรียนบ้านเชิงดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ทักษะการคิดวิเคราะห์บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น อิงฐานสมรรถนะเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น 3. เพื่อศึกษาทักษะการคิดวิเคราะห์ หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ใช้แบบแผนการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มประชากร นักเรียนระดับชั้น ป. 5 จำนวน 19 คน โรงเรียนบ้านเชิงดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น 1.อิงฐานสมรรถนะเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ 2. แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน 3. แบบประเมินทักษะการคิดวิเคราะห์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และฐานนิยม
ผลการวิจัย พบว่า 1. แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น อิงฐานสมรรถนะด้านการคิดวิเคราะห์ ที่สร้างขึ้นจำนวน 6 แผน ประเมินค่าความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 2. การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น อิงฐานสมรรถนะเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 10.32 และหลังเรียนเท่ากับ 24.00 แสดงว่าความรู้ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 30 ผลการวิเคราะห์ทักษะการคิดวิเคราะห์หลัง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยการประเมินจากชิ้นงาน สรุปโดยภาพรวมนักเรียนร้อยละ 67.54 อยู่ในระดับ ดี
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: กองแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ.
ชนิดา ทาทอง. (2549). การเปรียบเทียบผลการเรียนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น และการเรียนสืบเสาะแบบ สสวท. ที่มีต่อแนวความคิดเลือกเกี่ยวกับมโนมติชีววิทยา: พืช หรือสัตว์ การจัดจำแนกพืช และการจัดจำแนกสัตว์ และทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา) มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชัญญณัฏฐ์ เอี่ยมเผ่าจีน. (2556). การพัฒนาผลการเรียนรู้เรื่อง โครงสร้าง บทบาท สิทธิและหน้าที่ของสมาชิกในครอบครัวและโรงเรียน และความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7E (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ทิศนา แขมมณี. (2544). วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดอมาสเตอร์ กรุ๊ป แมนเนจเม้น.
ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2552). การคิดวิเคราะห์เล่ม 2. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง บางแค.
ประสาท เนืองเฉลิม. (2550). การเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะ 7 ขั้น. วารสารวิชาการ. 10(4), 25-27.
พิชญะ กันธิยะ. (2559). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
พิชญ์สินี ชมภูคำ. (2553). สถิติเพื่อการวิจัย. เชียงใหม่: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.
มนัชยา ศรีจินดา. (2556). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนรายวิชา สังคมศึกษา เรื่อง รักษ์ธรรมชาติรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้7ขั้น (7E) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ศึกษาศาสตร์) ระดับประถม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 36(2), 36-44.
สนธยา ช่างประดิษฐ์. (2560). การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา: กรณีศึกษาโรงเรียนเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฎ เชียงราย, 10(2), 23-39.
สุรีรัตน์ พะจุไทย. (2558). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยใช้วิธีการสอนแบบสืบสอบ 7 E ร่วมกับเทคนิคการตั้งคำถาม 5W1H สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิจัยและพัฒนาหลักสูตร) ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น