การประยุกต์หลักสุจริตธรรมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ในตำบลบางสีทอง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี
คำสำคัญ:
การประยุกต์, หลักสุจริตธรรม, พฤติกรรมการเลือกตั้งบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชน 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อพฤติกรรมการเลือกตั้ง 3. การประยุกต์หลักสุจริตธรรมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการเลือกตั้ง กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 345 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 10 รูปหรือคน แล้ววิเคราะห์คำให้สัมภาษณ์ของผู้ให้ข้อมูลสำคัญตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับพฤติกรรมการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อพฤติกรรมการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น พบว่า ประชาชนที่มี เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ต่างกัน มีความคิดเห็น โดยรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05 จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3. การประยุกต์หลักสุจริตธรรมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการเลือกตั้ง สรุปได้ดังนี้ 1. ด้านกายสุจริต พบว่า นักการเมืองท้องถิ่นควรให้ความช่วยเหลือประชาชนด้วยการให้สิ่งที่ประชาชนขาดแคลน 2. ด้านวจีสุจริต พบว่า นักการเมืองท้องถิ่น ควรรักษาคำมั่นสัญญาที่ได้ให้ไว้กับประชาชน 3. ด้านมโนสุจริต พบว่า นักการเมืองท้องถิ่นควรมีความเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อส่วนรวม
References
เกรียงไกร พัฒนะโชติ. (2563). วัฒนธรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ณัฐกาญจน์ เข็มนาค. (2563). พฤติกรรมทางการเมืองในการออกเสียงลงคะแนน เลือกตั้งทั่วไป ปี พ.ศ. 2562 ในตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
นุชปภาดา ธนวโรดม. (2557). พฤติกรรมการเลือกตั้งของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2544). การสร้างธรรมาภิบาล. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.
บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ. (2542). การเลือกตั้งและพรรคการเมือง : บทเรียนจากเยอรมัน. กรุงเทพฯ: สถาบันนโยบายศึกษา.
พระครูศรีธรรมวิเทศ (ประเสริฐ ปญฺโญภาโส). (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งทั่วไปในอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาณรงค์ ธมฺมเมธี(ศรีพันลม). (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนกับการเลือกตั้งทั่วไปของชุมชนท่าเตียน กรุงเทพมหานคร (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระสุรเดช สุเมธโส (บุญเรือง). (2562). ความคิดเห็นของประชาชนต่อการ ตัดสินใจใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนเสียงเลือกตั้งทั่วไปสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในตำบลต้าผามอก อำเภอลอง จังหวัดแพร่ (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
รัชฎากร เอี่ยมอำไพ. (2564). รูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนที่มีผลต่อการ ตัดสินใจในการเลือกตั้งทั่วไป (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เรียม ศรีทอง. (2542). พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน = Human Behavior and Self Development. กรุงเทพฯ : เธิร์ดเวฟ เอ้คคูเคชั่น.
วิจิตร เกิดน้อย. (2562). พฤติกรรมทางการเมืองในการเลือกตั้งทั่วไปของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ในตำบลไทยาวาส อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุจินตนา โสภาเวทย์. (2552). การมีส่วนร่วมในการใช้สิทธิทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชน ในเขตเทศบาลตำบลหนองสองห้อง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Yamane. Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (Third edition). New York: Harper and Row Publication.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น