รูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการงบประมาณที่มีประสิทธิภาพของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
รูปแบบการพัฒนา, การบริหารจัดการงบประมาณ, ประสิทธิภาพ, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานีบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงคือ เพื่อศึกษาการบริหารจัดการงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการงบประมาณ และเพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี ดำเนินการวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ทั้งเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถาม และเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์
ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิภาพในการบริหารงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก คือ คุณภาพของงาน ปริมาณงาน ค่าใช้จ่าย และเวลา 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่า การบริหารจัดการตามกระบวนการ PDCA ประกอบด้วย การปฏิบัติตามแผน การปรับปรุงแก้ไข การตรวจสอบ การวางแผน และหลักอิทธิบาท 4 ประกอบด้วย ฉันทะ (ความพอใจ) วิริยะ (ความเพียร) จิตตะ (ความคิดมุ่งไป) และวิมังสา (ความไตร่ตรอง) ส่งผลต่อการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพในการบริหารงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. รูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี มีดังนี้ ประสิทธิภาพในการบริหารงบประมาณทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วย คุณภาพของงาน ปริมาณงาน เวลา ค่าใช้จ่าย โดยนำหลักอิทธิบาท 4 มาปฏิบัติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงบประมาณ ประกอบด้วย ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา
References
คณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ การเงินและการคลัง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ. (2558). แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณรายจ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สภานิติบัญญัติแห่งชาติ.
เจริญชัย กุลวัฒนาพร. (2564). รูปแบบการจัดการคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อมโดยการบูรณาการหลักพุทธธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสมุทรปราการ (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ชนมณี ศิลานุกิจ. (2563). รูปแบบการบริหารโรงเรียนโดยใช้วงจรคุณภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 10(1), 43-58.
พระครูนนทกิจโกศล (สิริชัย สิริชโย). (2563). รูปแบบการจัดการความรู้ของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดนนทบุรี (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระบุญเพ็ง สิทธิวงษา. (2562). การใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารจัดการท้องถิ่นของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลสีออ อำเภอกุมวาปี จังหวัดอุดรธานี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 6(5), 2460-2477.
พระมหาปรีชา เขมนนฺโท (เหล่าทวีคุณ). (2561). การประยุกต์หลักอิทธิบาทธรรมเพื่อการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาวิศิต ธีรว์โส. (2559). การพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการปกครองของพระสังฆาธิการระดับอำเภอ ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค 11 (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสุเมฆ สมาหิโต (ทวีกุล). (2562). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลพุทธบูรณาการการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพิจิตร (หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พันธุ์ธัช แสนสุข. (2558). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี. (2565). ข้อมูลบุคลากร. สืบค้น 9 พฤศจิกายน 2566, จาก http://ubonlocal.go.th/public/default/index/index.
Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis (3rd ed). New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น