การตรวจประวัติอาชญากรรมเพื่อคัดกรองบุคคลเข้ามาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา
คำสำคัญ:
ตรวจประวัติอาชญากรรม, อุปสมบท, พระพุทธศาสนาบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสำคัญของการตรวจประวัติอาชญากรรม ขั้นตอนการตรวจประวัติอาชญากรรม และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการตรวจประวัติอาชญากรรม เพื่อคัดกรองบุคคลที่เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา ผลการศึกษาพบว่า ปัจจุบันมหาเถรสมาคมให้ความสำคัญกับการตรวจประวัติอาชญากรรม กำหนดให้เป็นหน้าที่ของพระอุปัชฌาย์และเจ้าอาวาสต้องพิจารณาผู้ขอบวชอย่างละเอียดถี่ถ้วน โดยมีช่องทางในการขอตรวจประวัติอาชญากรรมโดยใช้ชื่อ-สกุลและเลขบัตรประชาชนของผู้ขอบวช ดังนี้ คือ 1. พระอุปัชฌาย์หรือเจ้าอาวาสส่งข้อมูลผ่านทางสำนักงานพระพุทธศาสนา เพื่อส่งไปยังกองทะเบียนประวัติอาชญากร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระยะเวลาดำเนินการ 15-25 วัน 2. ผู้ขอบวชขอตรวจประวัติอาชญากรรมด้วยตนเองผ่านช่องทางออนไลน์ สามารถรับผลได้ที่กองทะเบียนประวัติอาชญากรหรือสำนักงานพิสูจน์หลักฐานจังหวัด ระยะเวลาดำเนินการ 7-10 วัน 3. ผู้ขอบวชขอตรวจประวัติด้วยตนเองที่กองทะเบียนประวัติอาชญากร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สามารถรอรับผลได้ในวันนั้น ปัญหาและข้อเสนอแนะ คือ การตรวจประวัติอาชญากรรมทำให้ทราบภูมิหลังเกี่ยวการกระทำผิดของผู้บวช แต่จะไม่สามารถทราบว่าผู้ขอบวช อยู่ในระหว่างหลบหนีคดีอาญาหรือคดีความสิ้นสุดแล้วหรือไม่ ควรมีการบูรณาการข้อมูลเพื่อสามารถตรวจสอบผู้ที่หลบหนีราชการหรือผู้ต้องหาที่คดีความยังไม่สิ้นสุดเพื่อคัดกรองบุคคลที่จะเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาได้ตามเป้าประสงค์อย่างแท้จริง
References
กมล กลิ่นรำพึง. (2561). ปัญหาการตรวจสอบคัดกรองผู้ขอบวชเป็นพระภิกษุ. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์. (2538). พฤติกรรมการบวชของคนไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
บำรุง พันธุ์อุบล. (2559). การจัดองค์กรสงฆ์เพื่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ประชาชาติ. (2565). บวชหนีคดีทำได้หรือไม่ ? เปิดคุณสมบัติผู้บวชเป็นพระสงฆ์. สืบค้น 25 มกราคม 2566, จาก https://www.prachachat.net/general/news-849753
พระครูธรรมธรไพบูลย์ ธมฺมวิปุโล. (2553). วงจรชีวิต (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเพทฯ: โอ เอส พริ้นติ้ง เฮ้าส์ จำกัด.
พระมหาเกรียงไกร โสภณจิตฺโต. (2554). กระบวนการคัดเลือกและวิธีการฝึกอบรมพระอุปัชฌาย์ของคณะสงฆ์ไทย (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พระมหาสุทัศน์ ไชยะภา. (2544). บทบาทพระอุปัชฌาย์ต่อการพัฒนาคุณภาพพระนวกะ : ศึกษาเปรียบเทียบบทบาท พระอุปัชฌาย์เถรวาทและพระอุปัชฌาย์มหายานในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาศาสนาเปรียบเทียบ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
พระสุธีวรญาณ (ณรงค์ จิตฺตโสภโณ). (2541). พุทธศาสนาปริทรรศน์รวมผลงานทางวิชาการเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาเถรสมาคม. (10 มีนาคม 2565). มติมหาเถรสมาคมครั้งที่ 07/2565มติที่ 205/2565เรื่อง ขอความเห็นชอบเพิ่มช่องทางการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมของผู้ขอบรรพชาอุปสมบท.
มหาเถรสมาคม. (30 พฤศจิกายน 2560). มติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 28/2560 มติที่ 688/2560 เรื่อง ให้พระสังฆาธิการและพระอุปัชฌาย์เพิ่มความเข้มงวดกวดขันในการปกครอง ควบคุม สอดส่องดูแล อบรมพระภิกษุสามเณรในปกครอง และคัดกรองผู้เข้าบรรพชาอุปสมบท โดยให้เป็นไปตาม พระธรรมวินัย พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ และกฎมหาเถรสมาคม อย่างเคร่งครัด.
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2563). คู่มือพระสังฆาธิการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
แสวง อุดมศรี. (2533). การปกครองคณะสงฆ์ไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น