พุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์

ผู้แต่ง

  • สุรวุฒ ณ ระนอง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สมาน งามสนิท มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

พุทธบูรณาการ, หลักสาราณียธรรม 6, การบริหารจัดการ, สมาคมสถาปนิกสยาม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการ และนำเสนอพุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 303 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้สำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 9 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยเนื้อหาพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารจัดการของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการของสมาคมสถาปนิกสยาม พบว่า การบริหารตามหลัก PDCA ส่งผลต่อการบริหารจัดการของสมาคมสถาปนิกสยาม ได้ร้อยละ 60.2 และหลักสาราณียธรรม 6 ส่งผลต่อการบริหารจัดการของสมาคมสถาปนิกสยาม ได้ร้อยละ 47.7 3. พุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการของสมาคมสถาปนิกสยาม พบว่า การบริหารจัดการของสมาคม มีปัจจัยพื้นฐาน คือ การบริหารตามหลัก PDCA นำมาบูรณาการหลักพุทธธรรม คือ หลักสาราณียธรรม 6 ประกอบด้วย มุ่งบำเพ็ญประโยชน์ ไม่เพ่งโทษสามัคคี วิชาการความรู้ดี เทคโนโลยีด้านวิจัย ร่วมมือหน่วยงานรัฐ ปฏิบัติตามพันธกิจ สุจริตมาตรฐาน สวัสดิการล้ำเลิศ

References

ธิติวุฒิ หมั่นมี. (2560). ภาวะผู้นำการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระปลัดพัทธพงษ์ ธมฺมนนฺโท (สอนแก้ว). (2562). พุทธสันติวิธีเพื่อการสร้างความสมานฉันท์ของโครงการสร้างโรงไฟฟ้ากระบี่ (ปริญญาพุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสุเมฆ สมาหิโต (ทวีกุล). (2562). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลพุทธบูรณาการการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพิจิตร (ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสุริยะ มทฺทโว (มาธรรม). (2564). การประยุกต์หลักสาราณียธรรมเพื่อส่งเสริมความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรเทศบาลในจังหวัดนครราชสีมา (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วสันต์ ปานสังข์. (2560). การบริหารจังหวัดเชียงใหม่ในรูปแบบมหานคร (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วันเฉลิม จันทรากุล. (2559). การบริหารจัดการการจัดสร้างอุโมงค์เก็บพันธุ์พืชบนดอยอินทนนท์จังหวัดเชียงใหม่ (ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สภาสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2565). ประกาศสำนักงานสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์. สืบค้น 2 มกราคม 2565, จาก https://act.or.th/th/home/

สมาคมสถาปนิกเมืองไทย. (2565). กิจกรรมสมาคม. สืบค้น 2 มกราคม 2565, จาก https://www.tuda.or.th/index.php/tuda-news/

สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2565). สรุปจำนวนสมาชิกตามภูมิภาค. สืบค้น 13 ตุลาคม 2565, จาก https://asa.or.th/about-us-th/objective-th

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-01

How to Cite