ความทันสมัยทางการเมืองที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของประชาชน ในการเลือกตั้งผู้บริหารและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดเพชรบูรณ์
คำสำคัญ:
ความทันสมัยทางการเมือง, การตัดสินใจ, การเลือกตั้งบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพทั่วไปความทันสมัยทางการเมือง 2. ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้ง 3. นำเสนอการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการลดความขัดแย้งเนื่องจากความทันสมัยทางการเมืองที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้ง การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ลักษณะของแบบสอบถามเป็นทั้งปลายเปิดและปลายปิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่, ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้วิเคราะห์คือการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นอย่างง่าย
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทั่วไปความทันสมัยทางการเมืองที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของประชาชน ทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยมทางการเมืองเป็นไปในลักษณะที่มีความสัมพันธ์ส่วนตัว ระบบเครือญาติ ระบบอุปถัมภ์ 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของประชาชน สถาบันครอบครัวและกลุ่มเพื่อนอยู่ในระดับมาก 3. ประยุกต์ใช้หลักสาราณียธรรม 6 ลดความขัดแย้งในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะการคิดดีต่อกันด้วยเมตตา
References
ทวิพันธ์ พัวสรรเสริญ. (2561) ประชาธิปไตยพัฒนา. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 11(2), 173 -191.
พระปลัดบุญมี คุณากโร (โพธิศรีสม). (2563). การศึกษาวิเคราะห์การใช้หลักสาราณียธรรมในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติของชุมชนเทศบาลเมืองปาดังเบซาร์ จังหวัดสงขลา. วารสารมหาจุฬานครทรรศน์, 7(4), 132-143.
ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยวิธีการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2563. (2563, 17 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 137 ตอนที่ 29 ก. หน้า 18.
วัชรินทร์ ชาญศิลป์. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการอบรมกล่อมเกลาทางการเมืองของเยาวชนไทย. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 6(1), 1-26.
วิชัย เทียนถาวร. (2562). คนรุ่นใหม่กับพัฒนาการเมือง. สืบค้น 29 ธันวาคม 2565, จาก https://www.matichon.co.th/article/news_1375571
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2561). จุลสาร เรื่องการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
Lindsay, A.D. (1951). The Essentialsof Democracy (2nd ed.). Oxfor United Kingdom: Oxford University Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น