ศักยภาพการบริหารของผู้บริหารเทศบาลในจังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • พระครูปลัดธวัชชัย ธวชฺชยเมธี วัดโพธิ์ทอง พิษณุโลก

คำสำคัญ:

ศักยภาพ, ผู้บริหารเทศบาล, การบริหาร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพการบริหารของผู้บริหารเทศบาลในจังหวัดพิษณุโลก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรของเทศบาลในจังหวัดพิษณุโลก ประกอบด้วย ข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้าง จำนวน 312 คน ทำการสุ่มแบบแบ่งพื้นที่ โดยการจัดแบ่งประชากรเป็นกลุ่มตามเทศบาลในจังหวัดพิษณุโลก ทั้ง 9 อำเภอ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ข้อมูลเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง วิเคราะห์โดยการแจกแจงความถี่และหาค่าร้อยละ สถิติที่ใช้ในการทำวิจัยครั้งนี้คือ สถิติพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่ ค่าสถิติ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

ผลการวิจัยพบว่า ศักยภาพการบริหารของผู้บริหารเทศบาลในจังหวัดพิษณุโลก ได้แก่ ด้านการวางแผน ด้านปฏิบัติตามแผน ด้านการตรวจสอบ ด้านการปรับปรุงแก้ไข และหลักไตรสิกขา ประกอบด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพการบริหารของผู้บริหารเทศบาลในจังหวัดพิษณุโลก ได้แก่ ด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านพฤติกรรมที่พึงประสงค์

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2550). การปกครองท้องถิ่นว่าด้วยทฤษฎี แนวคิด และหลักการ. กรุงเทพฯ: บริษัท ส.เอเซียเพรส จำกัด.

ทิพวรรณ หล่อสุวรรณ์รัตน์. (2557). ทฤษฎีองค์การสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: แชทโฟร์พริ้นติ้ง.

บุษกร วัฒนบุตร. (2554). การนำพุทธญาณวิทยา (ไตรสิกขา) และตัวแบบ KSM เพื่อสร้างและพัฒนาทุนมนุษย์ในองค์กรมหาชน (ดุษฎีนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

ปราโมทย์ อินสว่าง. (2557). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. สืบค้น 11 ตุลาคม 2565, จาก http://saving.egat.co.th/news/member-news/1049/1049-04.pdf

สุทธญาณ์ โอบอ้อม. (2558). การพัฒนาศักยภาพบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแนวพระพุทธศาสนา (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุทธิพร รัตนธร ศรัทธา. (2561). รูปแบบการบูรณาการหลักไตรสิกขาในกิจกรรมของชมรมพุทธศาสตร์กรมสรรพากร (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2551). กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-01

How to Cite