การมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งทั่วไปของประชาชน กลุ่มชาติพันธุ์ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วมทางการเมือง, การเลือกตั้งทั่วไป, กลุ่มชาติพันธุ์บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมทางการเมือง 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมทางการเมือง และ 3. เพื่อศึกษาแนวทางการนำหลักอิทธิบาท 4 มาประยุกต์ใช้ในการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งทั่วไปของประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยเก็บข้อจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 259 คน เลือกสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้ที่มีส่วนร่วมในการเลือกตั้งทั่วไป ผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือก จำนวน 6 กลุ่ม ประกอบด้วย ใช้แบบสอบถามในการวิจัยเชิงปริมาณ และแบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้างในการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ แบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้าง ใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ และค่าร้อยละ และสถิติเชิงอนุมาน โดยการใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1. การมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งทั่วไปของประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ปัจจัยสนับสนุน คือ 1. ด้านความสนใจทางการเมือง 2. ด้านอิทธิพลของสื่อ 3. ด้านประเพณีนิยม 4. ด้านนโยบายพรรคการเมือง และหลักอิทธิบาท 4 มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งทั่วไปของประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 และ 3. การนำหลักอิทธิบาท 4 มาประยุกต์ใช้ในการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งทั่วไปของประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์ ได้แก่ 1. ด้านฉันทะ เพื่อสร้างความพอใจหรือเต็มใจในการศึกษาข้อมูลต่าง ๆ 2. ด้านวิริยะ เพื่อสร้างความพยายามในการติดตามข้อมูลข่าวสารทางการเมืองในการเลือกตั้ง 3. ด้านจิตตะ เพื่อสร้างความสนใจในการเลือกตั้ง และ (4) ด้านวิมังสา เพื่อสร้างกระบวนการตรวจสอบพฤติกรรมคุณสมบัติของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งและพรรคการเมือง
References
กรภพ ธัญญกรณ์ภูวดล และพิมนกาลล์ ธีร์ก้านพลูกลาง. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาทางการเมืองในระดับท้องถิ่นของประชาชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร. วารสารราชนครินทร์, 17(1), 11–19.
งานทะเบียนราษฎรอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. (2564). สถิติประชากร. เชียงใหม่: งานทะเบียนราษฎรอำเภอฝาง.
จันทรานุช มหากคาญจนะ. (2559). การเมืองเปรียบเทียบ กรอบทฤษฎีพื้นฐานเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
เชาวณะ ไตรมาส. (2552). การเลือกตั้งแบบใหม่ทำไมคนไทยต้องไปเลือกตั้ง. กรุงเทพ: นโยบายศึกษา.
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และถวิลวดี บุรีกุล. (2548). ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
บุญเรือน เนียมปาน. (2564). การมีส่วนร่วมทางการเมืองประชาชนในจังหวัดปทุมธานี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(12), 292-307.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 34). กรุงเทพฯ: มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพ.
พระมหาวันเพ็ญ สารโท (ทุมซะ) และคณะ. (2565). การนำหลักอิทธิบาท 4 ไปใช้ในการปกครองบริหารงานของกำนันผู้ใหญ่บ้าน อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2(1), 38-46.
วิศาล ศรีมหาวโร. (2556). สังคมวิทยาการเมืองการปกครอง (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
สวาท ฮาดภักดี. (2565). การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองของระชาชนตำบลโคกสี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. Joumal of Roi Kaensarn Academi, 7(1), 322-335.
สำนักงานเลขาธิการรัฐสภา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการรัฐสภา.
อภินันท์ ธรรมเสนา. (2564). กลุ่มชาติพันธุ์ไม่ใช่คนอื่น. สืบค้น 25 กันยายน 2564, จาก https://theactive.net/read/the-indigenous-peoples - of - thailand
Dalton, R.J. (2006). Citizen Politics: Public Opinion and Political Parties in Advanced Industrial Democracies (4th ed). California: CQ press.
Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis (3rd ed). Tokyo: Harper International Education.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น