การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการอธิกรณ์ของคณะสงฆ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • พระเมธีวราภรณ์ (เชิดชัย กตปุญฺโญ) วัดพนัญเชิงวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การบริหารจัดการ, อธิกรณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการอธิกรณ์ของคณะสงฆ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 25 รูปหรือคน เลือกแบบเจาะจงจากผู้ทรงคุณวุฒิ และการสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 รูปหรือคน แล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา โดยการพรรณนาโวหาร

ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการอธิกรณ์ของคณะสงฆ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตามหลักอธิกรณ์ 4 ประการ ได้แก่ 1. วิวาทาธิกรณ์ จัดให้มีการประชุมสงฆ์ นำกรณีความขัดแย้งไปเทียบเคียงกับหลักพระธรรมวินัย และเรียกคู่กรณีมาอยู่พร้อมหน้ากันในที่ประชุมสงฆ์ ตามข้อมูลเอกสารหลักฐานและพยานประกอบการวินิจฉัย 2. อนุวาทาธิกรณ์ โดยเรียกประชุมครบองค์สงฆ์โดยพร้อมเพรียงกัน ชี้แจงว่าไปตามถูกผิดจากการโจทย์กันด้วยอาบัติ ยกพระธรรมวินัยขึ้นมาตัดสินถูกผิด ให้สงฆ์รับทราบร่วมกัน และมีการลงโทษภิกษุตามธรรมอันควร 3. อาปัตตาธิกรณ์ ใช้วิธีการตัดสินในที่พร้อมหน้าทั้งโจทย์และจำเลยพร้อมพยาน ตามหลักฐาน การตัดสินตามการยอมรับผิด คำสารภาพของผู้กระทำผิด ให้ยกฟ้อง เลิกแล้วต่อกันตามพระธรรมวินัยว่าไปตามถูกผิด 4. กิจจาธิกรณ์ ดำเนินการตามพระธรรมวินัย ให้ปฏิบัติตามมติคณะสงฆ์ ลงโทษตามพยานหลักฐานที่ปรากฎ ทุกฝ่ายร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหา

References

กนก แสนประเสริฐ. (2548). ประมวลพระราชบัญญัติคณะสงฆ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

การุณ รักษาสุข. (2558). การตัดสินคดีความของกระบวนการยุติธรรมไทย กับกระบวนการทางพระวินัย (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา).พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

คชาภรณ์ คำสอนทา. (2555). กระบวนการและขั้นตอนการระงับอธิกรณ์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท. วารสาร มจร สันติศึกษาปริทรรศน์, 3(2), 65 – 78.

ประวิทย์ เปรื่องการ. (2561). ความยุติธรรมในการลงโทษทางวินัยในทรรศนะพุทธปรัชญาเถรวาท (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา) พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเทพรัตนสุธี (สมศักดิ์ โชตินฺธโร). (2557). กลยุทธ์การปกครองคณะสงฆ์ภาค 1 (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ: เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

ยงยุทธ วัชรดุลย์. (2548). องค์พุทธมามกะ ความมั่นคงของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: บริษัทโพสต์ พับลิชชิง จำกัด มหาชน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-02

How to Cite