ความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อนักการเมือง ระดับท้องถิ่นในอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย

ผู้แต่ง

  • พระกฤษฎา กิตฺติปญฺโญ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เติมศักดิ์ ทองอินทร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พรรษา พฤฒยางกูร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ความไว้วางใจ, การเมือง, นักการเมือง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชน 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อความไว้วางใจทางการเมือง 3. เพื่อนำเสนอปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับความไว้วางใจทางการเมืองเพื่อนำเสนอปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับความไว้วางใจทางการเมือง กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 398 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 10 รูปหรือคน แล้ววิเคราะห์คำให้สัมภาษณ์ของผู้ให้ข้อมูลสำคัญตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อนักการเมือง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ผลการเปรียบเทียบ พบว่า ประชาชนที่มีอายุ ระดับการศึกษา รายได้ ต่างกัน มีความไว้วางใจทางการเมือง ในภาพรวม แตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนประชาชนที่มีเพศ และอาชีพ แตกต่างกัน มีความไว้วางใจทางการเมือง ในภาพรวมไม่แตกต่าง จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3. แนวทางในการสร้างความไว้วางใจทางการเมือง สรุปได้ดังนี้ ด้านตัวบุคคล ควรมีวิสัยทัศน์ในการพัฒนา ด้านนโยบาย ควรกำหนดนโยบายให้ชัดเจนตรงกับปัญหา ด้านการสื่อสาร ควรมีวิธีการสื่อสารที่รวดเร็ว ด้านกระบวนการทำงาน ควรจัดให้มีการติดตามและประเมินผล

References

ดนุวัศ สุวรรณวงศ์. (2553). ความไว้วางใจทางการเมืองและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของ ประชาชนในพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้: ศึกษาเปรียบเทียบพื้นที่เทศบาลนครหาดใหญ่และเทศบาลเมืองปัตตานี (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนาศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนาศาสตร์). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์. (2559). นักการเมืองไทย: จริยธรรม ผลประโยชน์ทับซ้อน

การคอรัปชั่น สภาพปัญหา สาเหตุ ผลกระทบ แนวทางแก้ไข (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สายธาร.

นิภา ทัตตานนท์. (2563). ความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดขอนแก่น (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูธรรมธรบุญเที่ยง พุทฺธสาวโก (ลักษณ์พลวงค์). (2564). การบูรณาการหลักพุทธธรรมกับ การสื่อสารทางการเมือง เพื่อเสริมสร้างความสมานฉันท์ (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระชินกร สุจิตฺโต (ทองดี). (2564). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการสื่อสารทางการเมือง สำหรับประชาชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระปลัดเอกชัย จนฺทโชโต (คงชีวะ). (2563). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการ เลือกตั้งระดับท้องถิ่นตำบลหนองแก อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2557). ธรรมนูญชีวิต (พิมพ์ครั้งที่ 206). (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พระพุทธของธรรมสภา.

พระมหาเตชินท์ สิทฺธาภฺิภู (ผากา). (2554). ประสิทธิผลการให้บริการของเทศบาลตำบลดงเย็น อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหานิรุต ญาณวุฑฺโฒ. (2566). คุณลักษณะเชิงพุทธสำหรับการส่งเสริมภาวะผู้นำทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่น จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารบัณฑิตศึกษาวิชาการ, 1(4), 34-51.

พระศกลวัธน์ จิตฺตปญฺโญ (วงวิวงษ์). (2563). บทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นในการพัฒนาเทศบาลตำบลนาหนาด อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ไพบูลย์ สุขเจตนี. (2563). การพัฒนาความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อนักการเมืองระดับท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มัฌสุรีย์ มณีมาศ. (2562). ความเชื่อถือไว้วางใจของประชาชนต่อการบริหารงานตามหลักธรร มาภิบาลของหน่วยงานภาครัฐในสังคมพหุวัฒนธรรมชายแดนใต้: กรณีศึกษาจังหวัด นราธิวาส (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วิจิตร เกิดน้อย. (2562). พฤติกรรมทางการเมืองในการเลือกตั้งทั่วไปของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในตำบลไทยาวาส อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุขุม นวลสกุล. (2557). การเมืองและการปกครองไทย (พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อังสุมาลิน ปัญญาแก้ว. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการ เลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นเทศบาลตำบลเวียงต้า อำเภอลอง จังหวัดแพร่ (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01

How to Cite